Page 85 - kpi11890
P. 85
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
(1) ปัจจัยด้านบริบท (Contextual Factors) ถือเป็นแรงกระตุ้นจาก
หน่วยของรัฐโดยคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น (กกถ.) เข้ามามีส่วนในการริเริ่มโครงการและกิจกรรมโดยมุ่งสนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมคิด ทดลองและลงมือแก้ไขปัญหาภายในพื้นที่
ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกัน
(2) ปัจจัยด้านการริเริ่มแบบมีส่วนร่วม ต่อมาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
แพร่ได้ดำเนินการแบบมีส่วนร่วม จึงได้มีการนำเสนอแนวคิดต่อประชาคมใน
จังหวัดแพร่ได้รับทราบโดยทั่วกัน เป็นการเปิดเผยแนวคิดภายในสู่ภายนอก
(inside-out) การจัดให้มีเวทีประชาคมส่งผลให้เกิดการยอมรับจากทุกภาคส่วน
โดยเชิญผู้แทนชุมชนและคณะกรรมการชุมชนภายในจังหวัดแพร่มาร่วมรับทราบ
แนวคิดและร่วมแสดงความคิดเห็น นำหลักการและแนวคิดมาเป็นแนวทางในการ
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯ ในลักษณะเป็นการนำความต้องการจากภายนอก
เข้าสู่ภายในจังหวัดแพร่ (outside-in) โดยมีผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในจังหวัดแพร่ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรเอกชน องค์กร
ประชาชนในจังหวัดแพร่ ร่วมปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานของศูนย์
เครือข่ายฯ ซึ่งทุกภาคส่วน รวม 104 หน่วยงาน ได้เห็นชอบและลงนามความร่วมมือ
ดำเนินงานศูนย์เครือข่ายฯ จัดกิจกรรมและเวทีสาธารณะ เพื่อส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น มาร่วมเป็นคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯ
มาเรียนรู้ร่วมกันค้นหาและกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานในลักษณะ
การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ (shared vision) ส่งผลให้ศูนย์เครือข่ายฯ สามารถแก้ไข
ปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
(3) ปัจจัยด้านการทำงานลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ เป็นการดำเนิน
การแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ที่ได้จัดทำโครงการ/
กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ส่งผล
ให้ได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ