Page 214 - kpi11890
P. 214

บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
        212


                    3.   เครือข่ายการพัฒนางานด้านการเกษตร โดยมีการประสานเครือข่าย
              จากองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ สำนักงานสร้างเสริมหลักประกันสุขภาพ
              แห่งชาติ (สปสช.) โครงการ SML โครงการอยู่ดีมีสุข เครือข่ายเกษตรกรปลอด
              สารพิษในหมู่บ้านต่าง ๆ สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน สถานีอนามัย โรงพยาบาล

              น่าน เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายเด็กและเยาวชน ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 26
              จังหวัดน่าน สำนักงานพัฒนาสังคมจังหวัดน่าน


                    รวมทั้งยังได้มีมวลชนจัดตั้งในรูปแบบของลูกเสือชาวบ้าน ไทยอาสาป้องกัน
              ชาติ กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
              อีกทั้งยังมีการรวมตัวของกลุ่มอาชีพแม่บ้าน และกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต
              ซึ่งทั้งเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ มวลชนจัดตั้ง และกลุ่มต่างๆ ได้ส่งผลให้

              ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์มีจิตสาธารณะประโยชน์อันเป็น
              ประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์เป็นอย่างมาก
        ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
                     แผนภาพที่ 1 : การประสานเครือข่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์



























                  แผนภาพที่ 1 : การประสานเครือขายขององคการบริหารสวนตําบลผาสิงห


 โครงการสงเสริมทันตสุขภาพเด็กกอนวัยเรียน


        สภาพปญหาและสถานการณกอนริเริ่มโครงการ

        ริเริ่มมาจากขอคําถามรวมกันของคนในชุมชนทองถิ่นที่วา “ทําไมเด็กในพื้นที่องคการบริหารสวน

 ตําบลผาสิงหนับตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน ถึงสอบเขาแพทยศาสตร และวิศวกรรมศาสตรกันไมเคยได
                                                                                      5
 เพราะจะไดมีหมอประจําพื้นที่ เพื่อกลับมาพัฒนาบานเกิดเมืองนอนของชาวผาสิงหกันตอไป”  ดวย
 จุดเริ่มตนเล็กๆ นี้จึงเปนสาเหตุแรกๆ ที่ทําใหคนในชุมชนตางหันหนาเขาหากันเพื่อขบคิดสาเหตุของ

 ปญหาเหลานี้ ดวยการใชลานวัดผาสิงหภายในชุมชนเปนพื้นที่เปดเวทีระดมความคิดเห็น ซึ่งเปนจุด

 กําเนิดใหประชาชนในชุมชนผาสิงห เจาหนาขององคการบริหารสวนตําบลผาสิงห เจาหนาที่สาธารณสุข
 จังหวัดนาน เจาหนาที่ศูนยพัฒนาเด็กเล็ก และเจาหนาที่สถานีอนามัยไดมาพบปะกัน โดยมีการจุด
 ประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของเด็กเล็กขึ้นมา และมีการตั้งคําถามวา “เปนไปไดหรือไมวา

 สาเหตุที่เด็กในองคการบริหารสวนตําบลผาสิงหไมเกง ไมฉลาด เพราะในวัยเด็กมีพัฒนาการทางสมอง

 ชากวาเด็กในเมือง เพราะอาจไดรับสารอาหารไมเพียงพอ และนิยมการบริโภคขนมหวานขบเคี้ยว”
        มติจากที่ประชุมในครั้งนั้น สงผลใหมีการประสานเครือขายขอความชวยเหลือไปยังสาธารณสุข
 จังหวัดนานใหชวยทําการสํารวจพื้นที่องคการบริหารสวนตําบลผาสิงหวาเด็กในชุมชนมีสุขภาวะอนามัย

 เปนอยางไร โดยไดผลเปนที่นาตกใจวา เด็กเล็กอายุตั้งแตแรกเกิดจนถึง 5 ป จํานวน 100% มีสุขภาพ

 ฟนผุ และมีอาการปวดฟนเรื้อรัง จนเปนเหตุใหเด็กไมสามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชนที่มี
 สารอาหารเพียงพอตอพัฒนาการที่สมวัย ซึ่งถาปลอยปละละเลยปญหาโรคฟนผุในเด็กเล็กแลว ใน
 อนาคตคงสั่งสมเปนปญหาใหญของชุมชนผาสิงหได



  5  ภานุวุธ บูรณพรหม นายกองคการบริหารสวนตําบลผาสิงห, สัมภาษณโดยผูเขียน, 15 กุมภาพันธ 2553, องคการบริหารสวนตําบลผา
 สิงห, นาน, เทปบันทึกเสียง.
                                                                                           3
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219