Page 380 - kpi10440
P. 380
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
เนื่องก็อาจจะมีการหารือเพื่อลงความเห็นและยุติการอภิปรายนั้น ในการอภิปรายขอแปร
ญัตติต้องมีการชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหา ผู้อภิปรายควรยกตัวอย่างโน้มน้าว จูงใจให้เห็น
สภาพปัญหา จากนั้นต้องมีการอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี ข้อมูลสนับสนุน ซึ่งในทางการวิจัย
เรียกว่า “การทบทวนวรรณกรรม” และทิ้งท้ายด้วยการเสนอแนะ/ สรุปแนวคิดสำคัญเพื่อ
แปรญัตติในประเด็นต่างๆ
สำหรับมารยาทในการอภิปรายต้องมีการทักที่ประชุมกับท่านประธาน มีการขอ
อนุญาตหากมีการพาดพิงถึงบุคคลอื่น ควรควบคุมอารมณ์ ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว ไม่
ประท้วงแบบไร้สาระ และต้องมีการรักษาเวลา
เคล็ดลับในการพูดแบบกระทันหัน
1. นึกถึงประโยคแรกที่จะพูดให้ได้ก่อน
2. ทักทายที่ประชุมหรือผู้เข้าร่วมงาน แต่ไม่จำเป็นต้องทักทายโดยละเอียด
ทุกกลุ่ม เพียงสามกลุ่มหลักๆ เท่านั้น
3. จะมีคำว่า “สวัสดี” หรือไม่มีก็ได้ ก็ถือว่าเป็นการทักทายเหมือนกัน
4. การทักที่ประชุมจะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ฟังและทอดจังหวะเพื่อ
เข้าสู่ประเด็นต่อๆ ไปได้ การเริ่มประเด็นใหม่ต้องทักที่ประชุมด้วยเพื่อให้
สัญญาณว่ากำลังเข้าสู่ประเด็นใหม่ มิฉะนั้นจะกลืนกันไป
5. ต้องกล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับโอกาสนั้นๆ เพื่อเตือนตนเองว่ากำลังจะ
กล่าวเรื่องใด (รู้สึกเป็นเกียรติ ยินดี ปลื้มปิติ)
6. ต้องพูดให้เกี่ยวกับงาน วิเคราะห์งานและคนว่างานนั้นเป็นงานอะไร และ
กลุ่มผู้ฟังคือใคร
7. การฝึกพูดเงียบ (Silent Speaking) นักพูดอาชีพมักฝึกพูดด้วยวิธีการนี้
ฝึกซ้อมตลอดเวลา หัดเรียงความคิด เพื่อให้การพูดแบบกะทันหันเป็นไป
ด้วยความราบรื่น เหมาะสมกับงานและกลุ่มบุคคล
สถาบันพระปกเกล้า