Page 372 - kpi10440
P. 372

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                         กฎหมายลูกที่ระบุถึงวิธีการหาเสียง นอกจากนี้บริบทเชิงกฎหมายที่สำคัญอีก

                         ประการหนึ่งสำหรับการอภิปรายในสภาคือ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า
                         ด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ซึ่งมีหมวดว่าด้วยการ
                         อภิปรายในสภาเป็นการเฉพาะ เช่น การยกมือให้พ้นศีรษะ การลุกขึ้นยืน
                         ไม่ใช่คำหยาบคาย ส่อเสียด ประชดประชัน ไม่เอ่ยนามผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

                      2)  วัฒนธรรมทางการเมือง ตามภูมิภาคต่างๆ ย่อมมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่
                         แตกต่างกันออกไป เช่นคนทางใต้มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ชอบพูดจา

                         ปราศรัย เป็นต้น

                      3)  สภาพการแข่งขัน

                      4)  สถานการณ์ทางการเมือง มีผลกระทบต่อการวางแผนในการพูดและการทำ
                         หน้าที่อภิปรายในสภา


                      ในเชิงทฤษฎีการพูดพบว่าการพูดมี 3 แบบ ซึ่งผู้พูดจะต้องออกแบบ/ วางแผน
                 การพูดของท่านให้สอดคล้องกับงาน คือ

                      1)  แบบจูงใจหรือชักชวน (Persuasive speech)

                        เป็นการพูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการโน้มน้าวจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและ
                 ปฏิบัติตามการชักชวนของผู้พูด เช่นการปราศรัยหาเสียง การอภิปรายในสภา การ

                 อภิปรายไม่ไว้วางใจ การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น การขอแปรญัตติ เป็นต้น

                      2)  แบบบอกเล่าหรือบรรยาย (Informative speech)

                        มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ หรือให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ฟัง เป็นการพูดแบบ
                 วิทยากร ต้องมีการเตรียมเอกสาร/ตัวอย่างประกอบ เน้นข้อมูลเชิงเอกสาร การอ้างอิง
                 เป็นต้น








                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   367   368   369   370   371   372   373   374   375   376   377