Page 35 - kpiebook63001
P. 35

17






               ตารางที่ 2.3 แสดงระดับการพัฒนาตามทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ของ

               จังหวัดร้อยเอ็ด พิจารณารายประเด็นยุทธศาสตร์

                            ยุทธศาสตร์             คะแนนที่ได้   ระดับ   ตัวชี้วัดที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนา

                ยุทธศาสตร์ที่ 1                      3.29      ปานกลาง  สัดส่วนนักเรียนด้อยโอกาสต่อนักเรียนทั้งหมด
                การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

                ยุทธศาสตร์ที่ 2                      3.60      ปานกลาง  คะแนนเฉลี่ยสติปัญญา (IQ) เด็กนักเรียน
                การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
                ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

                ยุทธศาสตร์ที่ 3                      2.75     ต้องพัฒนา  สัดส่วนรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรต่อ
                ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของ                      รายได้เงินสดสุทธิของครัวเรือนเกษตร และ
                อาหารและพลังงาน                                         สัดส่วนปริมาณเงินกู้ยืมต่อรายได้เงินสดสุทธิ
                                                                        ทางการเกษตร
                ยุทธศาสตร์ที่ 4                      2.60     ต้องพัฒนา  ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ย
                การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโต
                อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
                                  ไม่มีการวัดการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ที่ 5 ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

                ยุทธศาสตร์ที่ 6                      2.89     ต้องพัฒนา  หมู่บ้านมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดปี
                การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
                สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                     ทั้งนี้หากพิจารณารายประเด็นยุทธศาสตร์ สรุปได้ดังตารางที่ 2.3  พบว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีความจำเป็น
                                                                          15
               ต้องปรับระดับการพัฒนาในทุกยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมี

               คุณภาพและยั่งยืน ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ตลอดจนการจัดการ
               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               2.2 ข้อมูลพื้นฐานด้านการเมืองของจังหวัดร้อยเอ็ด





               (1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดร้อยเอ็ด

                     นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ดังตาราง
               ที่ 2.4, 2.5 และ 2.6 พบว่า พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงความนิยมต่อ

               ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับความนิยมจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สมัครจาก
               พรรคเหล่านี้ สามารถสร้างความนิยมและได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งและในการเลือกตั้งที่ผ่านมาสามารถ
               เอาชนะนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเดิมที่เคยได้มีฐานเสียงและได้รับความนิยมในพื้นที่


                     15   “ข้อมูลเชิงสถิติที่สำคัญเชิงพื้นที่”, สืบค้นจาก http://www.roiet.go.th/2013/ (11 มีนาคม 2562).






                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40