Page 31 - kpiebook63001
P. 31

13






               ด้านการศึกษา-เศรษฐกิจ


                     ด้านการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดมีการจัดการศึกษาในทุกระดับ การศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา
               การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกโรงเรียน ทั้งในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่น โดยระดับอุดมศึกษามีสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

               ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
               วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องให้ และสถาบัน

               การอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                     ด้านสภาพทางเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาถึงผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ ของ
               จังหวัดร้อยเอ็ดประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนาข้าว โดยในปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2559 มีเนื้อที่

               เพาะปลูก ข้าวเจ้านาปี 2,640,679 ไร่ มีผลผลิตที่ได้จากการเก็บ เกี่ยว 1,116,209 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย
               443 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนข้าวเหนียวนาปีมีพื้นที่เพาะปลูก 668,104 ไร่ ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยว 293,452 ตัน
               ผลผลิตเฉลี่ย 452 กิโลกรัมต่อไร่  โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                                            8
               ตอนกลาง และมีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ (ข้าวหอมมะลิ 105 และ กข 15) ที่สำคัญของจังหวัดในเขตพื้นที่
               อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย อำเภอปทุมรัตต์ และอำเภอหนองฮี และมีพื้นที่

               ในการปลูกข้าวเหนียว (กข 6) ที่สำคัญของจังหวัดจะปลูกในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัด ได้แก่ อำเภอโพนทอง
               อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอหนองพอก และอำเภอเสลภูมิ  โดยในภาคอุตสาหกรรมนั้น  จากรายงานของสำนักงาน
               อุตสาหกรรม พบว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีจำนวนสถานประกอบการ ในปี พ.ศ. 2558 ทั้งสิ้น 542 แห่ง มีจำนวน

               เงินทุนทั้งหมด 13,084.7 ล้านบาท

                     อย่างไรก็ดี ในภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจในจังหวัด แม้จะมีภาพรวมที่อยู่ในทิศทางที่เติบโตขึ้น

               แต่จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรากฏว่าในปี 2558
               จังหวัดร้อยเอ็ดมีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี คิดเป็นมูลค่า 60,150 ล้านบาท และ

               มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per Capita GPP) 55,982 บาท รายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ในลำดับ 15 ของภาค และ
               อยู่ในลำดับที่ 71 ของประเทศ 9

















               
      8   สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560, รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2560, กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
               กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

               
      9   เรื่องเดียวกัน








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36