Page 33 - kpi11663
P. 33
2
ป้องกันภัยยาเสพติดมิให้แพร่ระบาดต่อไป นอกจากนี้ โครงการส่งเสริมกีฬามวยไทยต้านภัย
ยาเสพติด ยังมุ่งอนุรักษ์ศิลปะแม่ไม้มวยไทย ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านของท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปด้วย
ในการดำเนินโครงการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ใช้หลักการมีส่วนร่วมใน
การดำเนินงานร่วมกันระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่ หน่วยงานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยในพื้นที่ องค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน
กลุ่มเครือข่ายผู้ปกครอง ตลอดจนองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพัทลุง โดยมีขั้นตอน
การดำเนินงาน ดังนี้
1) การจัดสรรงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงบรรจุโครงการส่งเสริมกีฬา
มวยไทยต้านภัยยาเสพติดไว้ในแผนพัฒนาสามปี โดยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง
ได้สนับสนุนงบประมาณให้ชมรมมวยจังหวัดพัทลุง ปีละ 11 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดหา
ครูมวยไทยเพื่อการฝึกซ้อม จัดการแข่งขัน จัดหาสนามแข่งขัน
2) การฝึกซ้อมมวย ชมรมมวยจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วยค่ายมวยที่ขึ้นทะเบียนกับ
การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวนกว่า 30 ค่าย ภาคประชาชน และภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการ
ฝึกซ้อมนักกีฬา เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมแข่งขันในระดับอำเภอ
3) การอบรมพัฒนามาตรฐานกรรมการตัดสิน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้จัดให้มี
การอบรมมาตรฐานกรรมการซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนพัทลุง และกรรมการที่สามารถตัดสินได้จะต้อง
ผ่านการสอบวัดผลตามมาตรฐานในระดับสากล
4) การจัดการแข่งขัน ชมรมมวยจังหวัดพัทลุง จัดให้มีการแข่งขันมวย 11 นัด 11 อำเภอ
ซึ่งผู้เข้าร่วมการแข่งขันประกอบด้วยเยาวชนทั้งในและนอกเขตจังหวัดพัทลุง จากนั้นผู้ชนะจาก
11 นัด จะเข้ามาแข่งขันอีกครั้งในงานกีฬาจังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดไปเข้าร่วมแข่งขัน
กีฬาเยาวชนแห่งชาติต่อไป
จากการดำเนินโครงการส่งเสริมกีฬามวยไทยต้านภัยยาเสพติดนั้น จะเห็นได้ว่า
เป็นโครงการที่มุ่งอนุรักษ์แม่ไม้มวยไทยซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านของท้องถิ่น และส่งเสริมให้เยาวชน
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด สร้างความรักความสามัคคีของเยาวชน
และประชาชนในพื้นที่ และสร้างความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง องค์กร
รางวัลพระปกเกล้า’ 60