Page 261 - kpi11663
P. 261
260
เครือข่ายบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
“ชุมชนสะอาด”
เขตตำบลนาพู่มีจำนวนหลังคาเรือน 3,612 หลัง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ให้บริการ
จัดเก็บและกำจัดในอัตรา 10 บาทต่อเดือน แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บล่าช้า เพราะสัปดาห์
หนึ่งจะจัดเก็บขยะจากถังขยะหน้าบ้านได้หนึ่งครั้ง ช่วงที่ขยะมีปริมาณมาก ขยะมักล้นถัง และ
การเน่าเปื่อยของขยะในถัง รวมทั้งการปะปนกันของขยะอันตราย ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสภาวะ
แวดล้อมที่บ่อกำจัดขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ประชาชนร้องเรียน
อยู่บ่อยครั้ง และท้ายที่สุดปริมาณขยะไม่ได้ลดลงแต่กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี
พ.ศ.2557 สมัชชาสุขภาพตำบลนาพู่ ได้มีมติเห็นชอบธรรมนูญสุขภาพที่ผ่านการประชาคมจาก
หลังคาเรือนในพื้นที่ 17 หมู่บ้านในตำบลนาพู่ นำไปสู่การเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการจัดการสุขภาพ
ชุมชน ของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการธรรมนูญสุขภาพ โดยเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น
น่าอยู่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ ผู้นำชุมชนยังได้เข้าร่วม
ฝึกอบรมด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน ของมหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข นอกจากนี้ สำนักงาน
สิ่งแวดล้อมภาค 9 และสำนักงานสิ่งแวดล้อมอุดรธานี ยังได้เลือกเอาพื้นที่ตำบลนาพู่ในการให้
ความรู้ในการจัดการขยะในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
จากการอบรมผนวกกับการถอดบทเรียนพื้นที่ตนเองเทียบเคียงพื้นที่ตัวอย่างดอนแก้ว
สุดท้ายตำบลนาพู่พบรากเหง้าของปัญหาที่สำคัญ คือ ประชาชนขาดความตระหนักในการคัดแยก
ขยะที่ต้นทางจากที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ จึงประสานกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่
กลุ่มโรงเรียนนาพู่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 สำนักงานสิ่งแวดล้อมอุดรธานี มหาวิชชาลัย
ดอนแก้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 8 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่ บ้านหลวง
โรงพยาบาลอำเภอเพ็ญ ที่ทำการปกครองอำเภอเพ็ญ ชมรมคัดแยกขยะตำบล และภาคเอกชน
ในพื้นที่ ร่วมกันเข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย โดยมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดังนี้
รางวัลพระปกเกล้า’ 60