Page 125 - kpi11663
P. 125
12
บริหารส่วนจังหวัดสงขลาเล็งเห็นว่าความรู้สึกปลอดภัยของประชาชนเมื่อยามเกิดเหตุฉุกเฉิน
ที่ไม่คาดคิดคือเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับ
ประชาชนว่าทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันเวลา แม้ในเวลานั้นผู้ป่วยจะไม่มี
ยานพาหนะส่วนตัวก็ตาม
เนื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น องค์การบริการส่วนจังหวัดสงขลาจึงได้เริ่มโครงการ
พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน “หนึ่งตำบล หนึ่งกู้ชีพ” ขึ้น โดยจัดให้มีชุดปฏิบัติการครอบคลุม
พื้นที่ ร่วมกับเครือข่าย ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล มูลนิธิ สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา
โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลเอกชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 4 (สงขลา) และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยมี
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาทำหน้าที่เป็นผู้จัดตั้ง “ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา
1669” อันเป็นความพยายามทำให้เกิดศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินกลางที่เป็นการประสานพลังของ
3 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา 2. ศูนย์ควบคุมระบบ
โทรทัศน์วงจรปิดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และ 3. ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธร
จังหวัดสงขลา เข้าด้วยกัน โดยใช้เพียงหมายเลขเดียว คือ 1669 เท่านั้น โดยเครือข่าย
มีลักษณะการทำงานโดยสังเขปดังนี้ เริ่มจากเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรืออบุติเหตุเกิดขึ้น ผู้ป่วย
ญาติผู้ป่วย หรือผู้ที่อยู่ในจุดเกิดเหตุ ณ เวลานั้นโทรเข้ามายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด
สงขลา 1669 เพื่อแจ้งพิกัดที่เกิดเหตุ อาการของผู้ป่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบ ซึ่งปัจจุบันศูนย์รับแจ้ง
เหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา 1669 จะมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อรับแจ้งเหตุจำนวน 5 คน พนักงาน
วิทยุสื่อสาร 3 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ 1 คน นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) 2 คน
พยาบาลวิชาชีพ (Full time) 1 คน พยาบาลวิชาชีพ (Part time) เวรละ 1 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่
ตำรวจซึ่งนั่งประจำในศูนย์โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อรับแจ้งเหตุและอำนวยความสะดวก
ให้แก่ยานพาหนะฉุกเฉินอีกด้วย เมื่อทราบพิกัดแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งไปยังศูนย์สั่งการในพื้นที่
ที่ใกล้เคียงที่สุดเพื่อส่งยานพาหนะพร้อมเจ้าหน้าที่ไปยังที่เกิดเหตุให้ได้ภายใน 8 – 10 นาที
ซึ่งปัจจุบันมีรถพยาบาลฉุกเฉินทั้งสิ้น 118 คัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน
เบื้องต้น (First Responder Unit : FR) 2. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (Basic Life Support
Unit : BLS) และ 3. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (Advance Life Support Unit : ALS) โดย
รางวัลพระปกเกล้า’ 60