Page 147 - kpiebook67027
P. 147
146 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก ปัจจุบันเน้นประเด็นความรู้ใหม่ ๆ ด้านพระปกเกล้าศึกษา
ที่ยังไม่เคยศึกษามาก่อน หรือต่อยอดงานวิจัยที่เคยมีอยู่เดิม โดยวิเคราะห์ให้เห็นแนว
พระราชด�าริ ที่มา ความส�าคัญ ตลอดจนผลกระทบ ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลง
มาจนถึงปัจจุบันจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
อาทิ หลักฐานเอกสารชั้นต้น และเอกสารชั้นรอง หลักฐานเอกสารจดหมายเหตุ ภาพเขียน
ภาพถ่าย ภาพยนตร์เกี่ยวข้อง สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยยกตัวอย่างงานวิจัย ดังนี้
งานวิจัยเรื่อง “โลกกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : บทส�ารวจ
วิเคราะห์และทัศนวิจารณ์ของชาวโลก” โดยสมบัติ จันทรวงศ์, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
และ ประจักษ์ ก้องกีรติ พ.ศ. 2547, งานวิจัยเรื่อง “การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม :
บ่อเกิด โครงสร้างเชิงสถาบัน และ ปฏิกิริยาทางสังคม” โดย ผศ.ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2564 งานวิจัยเรื่อง “ความคาดหวังของ
ราษฎรต่อระบอบการเมืองใหม่ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475” โดย นางสาวปฐมาวดี
วิเชียรนิตย์ นักวิชาการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2564
หรืองานวิจัยเรื่อง “แนวคิดความเป็นผู้แทนทางการเมืองและการปรับใช้ในการเมืองไทย”
โดย วนัส ปิยะกุลชัยเดช และ เอกวีร์ มีสุข พ.ศ. 2565 เป็นต้น
กิจกรรม
แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่
1) กิจกรรมประกอบนิทรรศการ อาทิ เสวนาประกอบนิทรรศการ กิจกรรม
Workshop หรือกิจกรรมเล็ก ๆ เช่นการสะสมรอยประทับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้าชม
ได้มีส่วนร่วม และสามารถเก็บเป็นของที่ระลึกเพื่อเตือนความทรงจ�าได้ อาทิ เสวนา
“ผ่านฟ้า ณ อิตาลี” น�าเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศอิตาลีและ
การเสด็จประพาสราชอาณาจักรอิตาลีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าร�าไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อ พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2477
ร่วมเสวนาโดย ศาสตราจารย์ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร และรองศาสตราจารย์ ดร. หนึ่งฤดี
โลหะผล ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน
ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
inside_KPI-museum-17pt.indd 146 9/11/2566 13:15:27