Page 124 - kpiebook67027
P. 124
123
พ.ศ. 2464 ความหวังในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ
ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (พระยศในขณะนั้น) ทรงเลือกศึกษาต่อด้านวิชาการ
ทหารขั้นสูง โรงเรียนเสนาธิการทหารเอกอล เดอ แกร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะนอกจาก
พระองค์จะทรงเป็น “นักเรียนเก่า” จากฝรั่งเศสแล้ว ทรงต้องวางพระองค์
ในฐานะประมุขแห่งประเทศที่อยู่ท่ามกลางดินแดนอาณานิคมของ
มหาอ�านาจทั้งประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และฮอลันดา ซึ่งพระราชกรณียกิจ
ส�าคัญคือการเสด็จฯ เยือนอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส (ประเทศเวียดนาม และ
กัมพูชา) พ.ศ. 2473 และเสด็จฯ เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ
ในฐานะพระประมุขแห่งสยาม เมื่อ พ.ศ. 2477
น�าเสนอเรื่องราวประกอบการจัดแสดงโบราณวัตถุ ได้แก่ อัลบั้มภาพถ่ายเมื่อ
คราวรัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ทอดพระเนตรการทหาร ณ เมืองนองซี ประเทศ
ฝรั่งเศส เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลจองดองเนอร์ ชั้นที่ 1 ประเทศฝรั่งเศส
และสมุดตารางเสด็จอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส 14 เมษายน-8 พฤษภาคม 2473
พ.ศ. 2564 นิทรรศการเล่าเรื่องอาคารกับวันวานรอบพิพิธภัณฑ์
จัดแสดงวันที่ 8 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ในรูปแบบออนไลน์
จัดนิทรรศการรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาด
ของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ และเข้าถึงได้
อย่างสะดวก
อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปัตยกรรม
นีโอคลาสสิคแห่งนี้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 สถาปนิกผู้ออกแบบ
คือ นายชาลส์ เบอเกอแลง บริษัทยอนแซมสันแอนด์ซันจ�ากัดเข้ามาเช่า
เพื่อเปิดกิจการเป็นห้างสรรพสินค้า เมื่อ พ.ศ. 2455 และเปลี่ยนกิจการ
จน พ.ศ. 2478 กรมโยธาธิการได้ขอเช่าอาคารเพื่อใช้เป็นที่ท�าการ
inside_KPI-museum-17pt.indd 123 9/11/2566 13:15:10