Page 78 - kpiebook67021
P. 78

เรื่องเด่นอยากเล่า 7
           People’s Audit Outcome & Impact


                 โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ที่ศูนย์เรียนรู้
           การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเลิงนกทา
           จังหวัดยโสธร มีตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตพื้นที่โครงการฯเข้าร่วมประชุม
           18 คน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการประเมิน

           ด้านเศรษฐกิจเพื่อประเมินการบริการด้วยแนวคิดค้นหาอนาคตร่วมกัน
           และแทรกแนวคิดเศรษฐศาสตร์ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อช่วยกรณีอยากให้
           สภาพการบริหารจัดการน้ำดีขึ้นกว่าเดิม เนื้อหาในการดำเนินโครงการ

           จะเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตพื้นที่
           โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนเป็นผู้ค้นหาปัญหา การจัดลำดับความสำคัญ
           ของปัญหา การออกแบบทางเลือกในการพัฒนาให้กับชุมชนกลุ่มผู้ใช้
           น้ำชลประทาน เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาหรือแก้ปัญหาของพวกเขา
           โดยการค้นหาสภาพอดีต ปัจจุบัน อนาคตของโครงการอ่างเก็บห้วยลิงโจน

           ความรู้สึก และการปฏิบัติ และ แนวทางจัดการเพื่อให้ไปถึงสภาพอนาคต
           ที่ต้องการ พร้อมจัดลำดับความสำคัญ ระบุผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ภาคประชาชน
           รัฐบาล หรือร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย

                 ผลการดำเนินการ ทำให้ได้ทราบค่าความเต็มใจที่จะจ่าย
           (Willingness To Pay : WTP) ภายใต้หัวข้อ ถ้าต้องจ่ายเงินโดยไม่เดือดร้อน

           เพื่อนำมาพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนท่านสามารถที่จะจ่าย
           ได้กี่บาทต่อไร่ต่อปี เพื่อนำออกแบบสอบถามด้านเศรษฐกิจสังคม
           ของการประเมินโครงการฯ และได้ผลสรุปจากกระบวนการมีส่วนร่วมของ

           กลุ่มผู้ใช้น้ำกลุ่มย่อยโดยการแสดงความคิดแล้วนำมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ
           และให้ลำดับความสำคัญของกลุ่มปัญหา เพื่อนำมากลับมาวิเคราะห์
           ประกอบการประเมินโครงการในขั้นตอนต่อไป










       76    สถาบันพระปกเกล้า
                                                                                                                  สถาบันพระปกเกล้า
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83