Page 73 - kpiebook67015
P. 73

66


           ในพื้นที่ เมื่อทราบถึงปัญหาดังกล่าว ทีม THC Team จึงได้นำการประเมินผลกระทบ
           ทางสุขภาพ (HIA) บางส่วนและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนา

           สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพที่เรียกว่า DPSEEA Model ซึ่งพัฒนาจากองค์กรอนามัยโลก
           มาวิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาสุขภาวะของเกษตรกรเพราะชีวิตเกษตรกร คือ ทุนมนุษย์
           ที่สำคัญที่สุดต่ออนาคตของชุมชนของตำบลทุ่งหัวช้าง การใช้กรอบแนวคิดนี้ทำให้มองเห็น
           ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสภาพตำบลทุ่งหัวช้าง 4 ด้าน ดังนี้


                 1.  ด้านสุขภาพจิตใจ เกษตรกรมีโอกาสเกิดโรคเครียดจากแรงงานไม่เพียงพอและ
           ความกดดันสูงที่ต้องเร่งให้มีผลผลิตมาก ๆ เพื่อให้ทันต่อความต้องการในการบริโภคในช่วง
           ฤดูกาลเก็บเกี่ยว และส่งออกพืชผลเกษตรสู่ตลาด

                 2.  ด้านสุขภาพทางกาย โอกาสเกิดโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น ภูมิแพ้

           มะเร็ง โรคทางปอด ระบบทางเดินอาหาร จากการใช้สารเคมีในพืชผลปริมาณมากและ
           ยาวนานและทำให้เกิดพิษตกค้างในเลือด ปอด เป็นต้น

                 3.  ด้านสังคม จากสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เน้นเกษตรวิถีที่พึ่งพาธรรมชาติและการใช้
           สารอินทรีย์ในการทำการเกษตรเป็นทุนเดิม ทำให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมในพื้นที่เพราะมี

           บางชุมชนไม่เห็นด้วยและต่อต้านการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้
           ครั้งละมาก ๆ

                 4.  ด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่อาจนำไปสู่การล่มสลายของระบบนิเวศในแปลงเกษตร

           และป่าของชุมชน กล่าวคือ การใช้สารเคมีถือว่าเป็นการทำลายพื้นที่ระบบนิเวศในวงกว้างของ
           ชุมชนอื่น ๆ โดยรอบ เพราะตามธรรมชาติจะมีกลไกในการปรับสภาวะตัวเอง (self-
           regulation) ดังนั้น หากมีการใช้สารเคมีมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบ
           นิเวศชุมชนที่มีอยู่เดิมและไม่อาจปรับตัวได้เองตามธรรมชาติอีกต่อไป รวมถึงส่งผลต่อ

           โครงสร้างทุกระบบทั้งดิน อากาศและน้ำของชุมชน ดังนั้น หากมีการแพร่หลายและนิยม
           การใช้สารเคมีจะยิ่งทำให้ชุมชนทุ่งหัวช้างไม่สามารถยึดโยงและเห็นคุณค่าอัตลักษณ์
           เรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนความพอเพียงได้อีกต่อไป

                 ดังนั้น ทีม THC Team และสมาชิกชุมชนตำบลทุ่งหัวช้างจึงร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา

           จึงจัดทำโครงการมัดปุ๊กผญ๋าชุมชน พัฒนาสู่ตำบลสุขภาวะ ภายใต้การดำเนินงานของ
           ทีม THC Team ตั้งแต่ช่วงระยะแรกก่อนที่เกษตรกรจะนิยมใช้สารเคมีในพื้นที่ เพราะคำว่า
           มัดปุ๊ก คือ การมัดรวมกันหลายเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อให้เกิดปัญญา ทำเรื่องหนึ่งแล้ว




        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78