Page 26 - kpiebook67015
P. 26
1
หากจำแนกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณสำหรับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
ประเภทรางวัลพระปกเกล้าพบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับใบประกาศเกียรติคุณ
ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุด เทศบาลตำบลได้รับ
ใบประกาศเกียรติคุณด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม และ
มีองค์การบริหารส่วนตำบลเพียงแห่งเดียวที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณด้านการลด
ความเหลื่อมล้ำในสังคม
ตารางที่ 2 จำนวน อปท. แต่ละประเภทที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณในแต่ละด้าน
ปี พ.ศ. 2566
รางวัลพระปกเกล้า อบจ. ทน. ทม. ทต. อบต. รวม
โปร่งใสมีส่วนร่วม 3 0 0 0 2 5
เครือข่าย 2 1 3 6 4 16
การลดความเหลื่อมล้ำ 0 0 0 0 1 1
รวม 5 1 3 6 4 22
3. ภาพรวมจำแนกตามภูมิภาคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า (โล่รางวัลพระปกเกล้า)
รวม 28 แห่ง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ
เลย สุรินทร์ และร้อยเอ็ด) จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 32.14 ภาคเหนือ (จังหวัดแพร่
ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และเชียงราย) จำนวน 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 28.57 ภาคกลาง
(จังหวัดลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และพิษณุโลก) จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 17.86
ภาคใต้ (จังหวัดยะลา สตูล กระบี่ และสงขลา) จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 17.86 และ
ภาคตะวันตก (จังหวัดเพชรบุรี) จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 3.57 ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า (โล่รางวัลพระปกเกล้า) ทั้งหมด จากข้อมูลดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ. 2566 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้รับรางวัลพระปกเกล้า (โล่รางวัลพระปกเกล้า) มากที่สุด แต่สัดส่วนมีความใกล้กับ
ภาคเหนือ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66