Page 196 - kpiebook67015
P. 196
18
ปกครองส่วนท้องถิ่นให้การหนุนเสริม จนเกิดเป็นกิจกรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ
สร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน เทศบาลตำบลเชียงคานมีพื้นที่แห่งการพูดคุยและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและระหว่างภาคีเครือข่าย คือ ลานวัฒนธรรม
วัดศรีคุนเมือง และเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
โครงการเชียงคานสองกาลเวลา ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งก่อให้เกิด
การสร้างพื้นที่ที่เป็นแหล่งรวมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเชียงคานอีกแหล่งหนึ่ง อันเป็น
การยกระดับการท่องเที่ยวของเชียงคาน ในการดำเนินงานมีร้านค้าเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า
20 ร้าน/แผงลอย มีกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 แห่ง และ
กลุ่มเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 กลุ่ม ภายหลังการดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว
ภาคีเครือข่ายได้ประชุมถอดบทเรียนร่วมกัน ผลการถอดบทเรียนพบว่า เชียงคานสองกาล
เวลาเป็นโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของเมือง และช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวรู้จักแหล่ง
ท่องเที่ยวในบริเวณอื่นที่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ซึ่งเป็นพื้นที่โซนอนุรักษ์ อีกทั้งช่วยให้เกิด
เครือข่ายในการร่วมคิด ตัดสินใจ และลงมือทำ เพื่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการพุธพัฒนา
อำเภอเชียงคานเป็นอีกอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลยที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย อาทิ การแต่งกาย ภาษาพูด อาหารการกิน การตักบาตร
ข้าวเหนียว และพิธีกรรมผาสาดลอยเคราะห์ เป็นต้น รวมทั้งคงความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม
ทางด้านสถาปัตยกรรมบ้านไม้เก่าและศาสนสถาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 อำเภอเชียงคานได้รับ
การยกย่องให้เป็นเมืองน่าท่องเที่ยว 1 ใน 100 แห่งของโลก
เทศบาลตำบลเชียงคานเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเชียงคานในหลายมิติ
โดยเฉพาะการเสริมสร้างเชียงคานให้คงความเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เนื่องด้วย
รางวัลพระปกเกล้า’ 66