Page 46 - kpiebook67002
P. 46
จันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.05 – 09.55 น. ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกรัฐสภาสามารถเข้าร่วม
รายการได้มากที่สุด แต่ก็ยังพบปัญหาเรื่องการถูกงดออกอากาศบ่อยครั้งคิดเป็นร้อยละ 50 ของการออกอากาศ
47
ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้จึงท าให้คณะกรรมการการผลิตรายการโทรทัศน์รัฐสภามีความคิดที่จะจัดตั้งสถานีวิทยุ
โทรทัศน์รัฐสภาผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง หลังจากนั้นได้รับความอนุเคราะห์จากนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ที่ได้เปิดช่องโดยการประสานกับกรมประชาสัมพันธ์เพื่อขอคลื่นในระบบดาวเทียมมาออกอากาศ ขณะเดียวกัน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น คือ นายพิทูร พุ่มหิรัญ ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์
รัฐสภาให้ได้ในปีงบประมาณ 2549 จนในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ท าการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรก (PTV : Parliament Television) จึงท าให้รัฐสภามีเวลาออกอากาศเป็นของรัฐสภา
เองโดยการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์รัฐสภาผ่านดาวเทียมขึ้น เพื่อท าการถ่ายทอดสดกิจกรรมทางด้านนิติบัญญัติ
โดยเฉพาะการประชุมรัฐสภา และเพื่อให้ประชาชนสามารถรับชมการถ่ายทอดทั้งภาพและเสียงได้อย่างทั่วถึง
48
นอกจากนี้สถานีโทรทัศน์รัฐสภายังท าหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างสถาบันการเมือง นักการเมืองและประชาชน
โดยเริ่มแรกออกอกาศในระบบ KU-Band เพียงระบบเดียว จากนั้นจึงเริ่มทดลองออกอากาศในระบบ C-Band
และส่งสัญญาณออกอากาศเต็มรูปแบบได้ในพ.ศ. 2555 ซึ่งออกอากาศตั้งแต่เวลา 08.00 – 22.00 น.
ในระยะแรกเริ่มสถานีโทรทัศน์รัฐสภาออกอากาศผ่านทางดาวเทียม เน้นการถ่ายทอดสดการประชุม
รัฐสภา การเผยแพร่กิจกรรมของคณะกรรมาธิการ และการผลิตรายการเพื่อการเผยแพร่ข่าวสารพร้อมทั้งการ
ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กระบวนการนิติบัญญัติ พร้อมทั้งการ
เผยแพร่กิจกรรมของสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ยังมีการผลิตรายการสด เช่น รายการมองรัฐสภา และรายการ
รัฐสภาของประชาชน ซึ่งทั้งสองรายการยังเป็นรายการหลักของสถานีโทรทัศน์รัฐสภามาจนกระทั่งปัจจุบัน
และเป็นรายการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
ต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาได้มีการน าระบบเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่ม
คุณภาพการให้บริการข้อมูลข่าวสาร มีการปรับเปลี่ยนจากการออกอากาศผ่านดาวเทียมเป็นการออกอากาศ
ภาคพื้นดินผ่านระบบดิจิทัล โดยเริ่มต้นการออกอากาศผ่านระบบดิจิทัลในพ.ศ. 2558 หลังจากการประชุมของ
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ภายใต้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยพิจารณาเห็นชอบให้ใบอนุญาตในการใช้คลื่น
ความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทที่ 3 บริการสาธารณะในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ใน
ล าดับหมายเลขให้บริการคือช่อง 10 ออกอากาศ 24 ชั่วโมง แบ่งการออกอากาศออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ
ตั้งแต่เวลา 07.00 – 24.00 น. เป็นการน าเสนอเนื้อหาสาระและองค์ความรู้ผ่านรายการต่าง ๆ ของ
สถานีโทรทัศน์รัฐสภา และตั้งแต่เวลา 24.00 – 08.00 น. เป็นการน าเสนอองค์ความรู้ด้านกฎหมายและด้าน
47 สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา, รายงานประจ าปี 2564 สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
(TPChannel), น. 15-16.
48 ณัฐาศิริ สุขภาพ, การบริหารการจัดการสถานีโทรทัศน์รัฐสภาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, p. 59.
45