Page 14 - kpiebook66033
P. 14
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มูลนิธิรักษ์ปะการังภายใต้การอุปถัมภ์ของบริษัท
AGC วีนิไทย และนักเรียนจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือพบว่า ลักษณะพื้นที่ของระบบ
นิเวศแนวปะการังบริเวณเกาะเกล็ดแก้วเป็นพื้นที่ซึ่งมีกองเศษซากปะการังเก่าที่ตายแล้ว
อยู่กระจัดกระจาย ปะการังก้อน ปะการังโขดกระจายอยู่ทั่วไป ทำาให้พื้นที่ที่จะฟื้นฟูปะการัง
โดยการวางแปลงปลูกปะการังขนาด 0.66 ตารางเมตร ซึ่งเป็นวิธีการที่รุ่นพี่ทีม coral
ranger 3 และ 4 ดำาเนินการมานั้นเป็นไปได้ยาก
ดังนั้นพวกเราทีม Coral Ranger 5 จึงพัฒนานวัตกรรมจากแปลงฟื้นฟูปะการังขนาด
0.66 ตารางเมตร มาเป็นแท่นขยายพันธุ์ปะการังซึ่งมีขนาดเล็กลงคือ ประมาณ 0.086 ตารางเมตร
เพื่อที่จะให้สามารถวางแท่นขยายพันธุ์ปะการังในพื้นที่ที่จำากัดบริเวณเกาะเกล็ดแก้วและ
ยังได้ดำาเนินการวางแท่นขยายพันธุ์ปะการังดังกล่าว บริเวณหาดประภาคาร และแหลมแสมสาร
อีกด้วย เพื่อให้ระบบนิเวศในแนวปะการังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้สิ่งมีชีวิต
ในท้องทะเลมีความหลากหลายและมีแหล่งอาหารในการดำารงชีวิต อีกทั้งยังส่งผลไปถึง
บุคคลในท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การท่องเที่ยว การค้าขายและแหล่งอาหารของ
บุคคลในท้องถิ่นจึงจำาเป็นที่จะต้องขยายพื้นที่และฟื้นฟูปะการัง
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อขยายพื้นที่ในการฟื้นฟูปะการังไปยังเกาะเกล็ดแก้วโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
2. เพื่อนำาปะการังมาขยายพันธุ์เพิ่มเติมในพื้นที่ที่จำากัดโดยใช้อุปกรณ์ที่ประยุกต์ขึ้นใหม่
คือ แท่นขยายพันธุ์ปะการัง
3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์
และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลร่วมกับภาครัฐและเอกชน
4. เพื่อสร้างจิตสำานึกด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ทางทะเล
ขั้นตอนการดำาเนินงาน
1. สำารวจพื้นที่ในการใช้อนุรักษ์และฟื้นฟูปะการัง
สำารวจพื้นที่ในการใช้อนุรักษ์และฟื้นฟูปะการัง บริเวณเกาะเกล็ดแก้ว ณ โรงเรียน
ชุมพลทหารเรือ กองทัพเรือ จำานวน 15 ไร่ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566
12 KPI NEW GEN
สร ้ างสรรค์นวัตกรรมท ้ องถิ่นปี 2566