Page 269 - kpiebook66032
P. 269
ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก็ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด
ชุดและการแสดงบนเวทีอีกด้วย ซึ่งผู้ให้ข้อมูลได้เล่าให้ฟังว่า
“ตอนนั้นผมเป็นรองผู้อำนวยการสำนักวิจัย แต่ก่อนผมขับมอเตอร์ไซค์
มาเล่นแถวนี้ ท่านอธิการมีโครงการท่าสาปโมเดล ผมเลยเข้ามา เราจับทุกมิติ
เราคัดกรองกลุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม...โครงการท่าสาปโมเดลของเราถือเป็นสารตั้งต้น
ที่ดี เราลงมา 3-4 ปี เป็นตัวที่เปิดให้เขาเห็นว่าเขามีอะไร เราเป็นตัวจุดประกายให้
เขาได้เห็นว่าขนาดคนอื่นยังลงมา และทำให้เขาได้เห็นสิ่งที่เขามี คุณค่าที่เขามี
เป็นหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยที่ต้องลงมา ถ้าเทียบดูหลังจากปี 2547 ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
271
และ 2560 ขึ้นมา อาจารย์ต่าง ๆ ก็ลงมาเยอะในพื้นที่นี้”
“มหาลัยราชภัฏยะลาหาวิทยากรมาสอน เทศบาลทำโครงการท่าสาปโมเดล
ระหว่างเทศบาลกับมหาวิทยาลัยนี้ ทำโครงการท่าสาปโมเดล มี MOU กัน
เราก็ได้ฝึกทำกันและพัฒนาให้ดีขึ้น จนสามารถนำมาวางขายทุกวันเสาร์ มีคนมา
สั่งทำ มาติดต่อให้ทำ ก๊ะเลยดัง เป็นการขยายธุรกิจได้เลย และขายไอติมใส่กะลา
272
ได้อีกด้วย”
ส่วนภาคีเครือข่ายอีกกลุ่มคือภาคเอกชน มีทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ
รายย่อย โดยภาคเอกชนเหล่านี้ได้เข้ามาสนับสนุนการออกบูธต่าง ๆ เช่น บูทขายสินค้าและ
อาหาร บูทแจกของฟรีแก่ผู้มาร่วมงาน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดสถานที่หรือ
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ความร่วมไม้ร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการจัดงานตลาดนัด
ภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลท่าสาปสะท้อนอย่างชัดเจนจากคำพูดของ
เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานของเทศบาลท่าสาปว่า
“ในเทศบาลฯ ของเรา สำนักปลัด สำนักช่าง คลัง ศึกษา สาธารณสุข ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
เราได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันจัดงาน ลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่ ส่วนในพื้นที่จะมี
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นฝ่ายดูแลสถานที่ จัดสถานที่ ส่วนกลุ่มสตรีมีบทบาท
ในกิจกรรมออกร้าน แข่งขันทำอาหารภายในงาน และยังมีบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
ที่มาช่วยสนับสนุนงบประมาณครั้งละสองหมื่นบาทสำหรับจัดสถานที่”
273
271 Personal communication, 28 เมษายน 2566.
272 Personal communication, 28 เมษายน 2566.
273 Personal communication, 22 มีนาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า 2