Page 56 - kpiebook66030
P. 56
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ในปัจจุบัน เราเผชิญกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างความมั่นคงของชาติและ
ความมั่นคงของมนุษย์ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและวิกฤตการณ์ COVID-19
เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ดังนั้น เราจำเป็นต้องตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ให้ได้ผล โดยการ
ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราได้บรรลุผล ประการแรก
ความมั่นคงของสถาบัน ปัญหาของความเสื่อมถอยของสถาบันต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปัญหาที่เรา
ต้องจัดการ เช่น การกลับไปสู่การถือภูมิภาคนิยมและชาตินิยม ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่มาก
ซึ่งเป็นจุดที่เราอาจแบ่งความมั่นคงที่เป็นแบบดั้งเดิมและแบบไม่ดั้งเดิม ดังที่ ดร.คาราเบลโล่
เอนโทนี่ ได้นิยามคำว่า ความมั่นคง ว่า เป็นการที่รัฐเป็นศูนย์กลาง และเน้นในเรื่องของ
การทหารและเน้นบูรณภาพแห่งดินแดน ขณะเดียวกันความมั่นคงทางมนุษย์ ซึ่งได้เน้นไปที่
ความสามารถที่จะอยู่รอดและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและรัฐที่ได้มาจากแหล่งที่ไม่ใช่
ทหาร เช่น วิกฤตภูมิอากาศในเรื่องของโรคระบาด แล้วก็ภัยธรรมชาติ การค้ามนุษย์
การลักลอบ และอาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจทั้งสองแนวคิด
ซึ่งความสัมพันธ์กันของความมั่นคงทั้ง 2 ประเภทนี้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ค่อนข้างที่จะร้ายแรง
สำหรับเรา สำหรับสถานการณ์ COVID-19 มีคนเสียชีวิตไป 6.6 ล้านคน ดังนั้น ความมั่นของ
ทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาด จึงเกี่ยวพันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความมั่นคงของ
ชาติ เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารที่โปร่งใสของรัฐ หากรัฐไม่สามารถ
บริหารจัดการโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ความมั่นคงของมนุษย์นั้นเสื่อมถอย
เช่นเดียวกับประการที่สอง ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีสิ่งแวดล้อม ระบบ
นิเวศ และสภาพอากาศ
ประการที่สาม ความขัดแย้งทางการเมืองโลก เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งสูง
เกิดสงครามระหว่างประเทศ เช่น สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย สงครามนอกจากจะทำให้
พลเมืองต้องบาดเจ็บล้มตายแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดวิกฤตความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย
เนื่องจากว่าไม่สามารถที่จะขนส่งธัญพืชทางเรือจากยูเครนออกไปในต่างประเทศได้ นอกจากนั้น
ยังมีความไม่มั่นคงทางพลังงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางที่เราต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอลซิล
มาตลอด สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นผลดีจากความขัดแย้งนี้คือ การให้ความสนใจกับการหาพลังงานทาง
เลือกมากขึ้น และยังมีหลายประเทศในโลกที่กำลังเผชิญกับความท้าทายต่อความมั่นคง
การแสดงปาฐกถาพิเศษ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น และพบอุปสรรคมากมายในการตอบโต้ต่อความท้าทายนั้น
ในลักษณะนี้ เช่น ไต้หวัน อียิปต์
ศาสตราจารย์วิกเตอร์กล่าวต่ออว่า มนุษย์ตกอยู่ภายใต้ความท้าทายต่อรัฐทั้งในระดับโลก
เช่น ความเสื่อมถอยต่อความไว้ใจในรัฐ ลัทธิชาตินิยม และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ
ประกอบกับมีสงครามทางการค้าต่าง ๆ การแยกส่วนของเศรษฐกิจและลัทธิชาตินิยมเป็นปัจจัย
ที่สร้างความขัดแย้งและความไม่เสถียรในระบบการปกครองประชาธิปไตย นอกจากนี้
ยังมีความสำคัญของการรวมตัวระหว่างประเทศที่มีต่อความมั่นคงของชาติ การเกิดการรวมตัว
เช่นกลุ่ม The Quad ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอื่น ๆ และยังมีการบังคับให้ประเทศ