Page 3 - kpiebook66030
P. 3

III




             คำนำ

























                   ในปัจจุบันความมั่นคงมิได้มีความหมายจำกัดอยู่เพียงความมั่นคงในระดับรัฐ

             (state security) ที่เป็นความมั่นคงในรูปแบบดั้งเดิม (traditional security) อีกต่อไป
             ทว่านับตั้งแต่ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา นัยยะของความมั่นคงที่เป็น
             ภัยคุกคามของรัฐกลายเป็นเรื่องความท้าทายในการอยู่รอด การมีศักดิ์ศรี และความเป็นอยู่

             ที่ดีของประชาชน ความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม (non-traditional security) ที่เกิดขึ้นนี้
             จึงกลายเป็นความมั่นคงใหม่ (new security) ที่ผลกระทบเกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล สังคม

             ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยรวม เช่น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ภัยคุกคามทาง
             ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย
             ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ โรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชน

             ความยากจนและความเหลื้อมล้ำ เป็นต้น ภัยคุกคามเหล่านี้จึงส่งผลกระทบอย่างสำคัญ
             ต่อความมั่นคงของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และเป็นความท้าทายใหม่

             ต่อความยั่งยืนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย

                   ด้วยเหตุที่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีกลไกที่ส่งเสริมการมีสิทธิ
             เสรีภาพ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การยึดหลักธรรมาภิบาล และมุ่งให้ประชาชน

             มีสันติสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสอดคล้องในการรับมือกับความมั่นคงใหม่ที่ให้
             ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์และสังคมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ความมั่นคงใหม่และ

             ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันและกัน ทว่าภายใต้
             ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยและความมั่นคงใหม่นี้ก็กำลังเผชิญหน้ากับ
   1   2   3   4   5   6   7   8