Page 45 - kpiebook66019
P. 45
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2565
และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545-2565
3.2.2 ความถี่ในการติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ
สำหรับประชาชนที่ติดตามข่าวสารทางการเมือง ได้ระบุความถี่ในการติดตาม
จากสื่อต่าง ๆ ดังนี้
1) หนังสือพิมพ์
เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับความถี่ในการติดตามข่าวสารทางการเมือง
จากสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่า ร้อยละ 18.6 ติดตามทุกวัน ร้อยละ 43.7 ติดตามสัปดาห์ละ 2 – 3
วัน ร้อยละ 24.8 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 11.7 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 1.2
ไม่ได้ติดตามเลย สำหรับหนังสือพิมพ์ที่ประชาชนติดตามข่าวสารทางการเมืองมากที่สุดคือ
ไทยรัฐ ร้อยละ 71.8 รองลงมา เดลินิวส์ ร้อยละ 16.2
2) วิทยุทั่วไป
การติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อวิทยุทั่วไป พบว่า ร้อยละ 29.1
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 46.2 ติดตาม สัปดาห์ละ 2 – 3 วัน ร้อยละ 12.8 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง
ร้อยละ 11.0 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 0.9 ไม่ได้ติดตามเลย สำหรับสถานีวิทยุ
ที่มีผู้ติดตามข่าวสารทางการเมืองมากที่สุดคือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ร้อยละ 36.5 รองลงมา สถานีวิทยุของ อสมท. ร้อยละ 17.9
3) วิทยุชุมชน
ส่วนการติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อวิทยุชุมชน พบว่า ร้อยละ 20.0
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 17.9 ผู้ติดตามสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน ร้อยละ 8.7 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง
ร้อยละ 48.1 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 5.3 ไม่ได้ติดตามเลย
4) โทรทัศน์ (ฟรีทีวี)
สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อโทรทัศน์ (ฟรีทีวี) พบว่า
ร้อยละ 30.0 ระบุว่าติดตามทุกวัน ร้อยละ 40.2 ติดตามสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน ร้อยละ 14.7
ติดตามสัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 14.0 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 1.1 ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่มีผู้ติดตามข่าวสารการเมืองมากที่สุด คือ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ร้อยละ
38.4 รองลงมา สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 ร้อยละ 28.9
5) เคเบิ้ลทีวี
การติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อเคเบิ้ลทีวี พบว่า ร้อยละ 29.4
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 37.6 ติดตามสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน ร้อยละ 15.0 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง
สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลระดับภาค และทั่วราชอาณาจักร