Page 15 - kpiebook66019
P. 15
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ปัจจุบันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบการบริหารงาน
ของรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ให้ความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้า ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะและการทำงาน
ของหน่วยงานต่าง ๆ พ.ศ. 2565 เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของ
ประชาชนต่อการบริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ และนำผลที่ได้
จากการสำรวจไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาการจัดบริการสาธารณะให้มีคุณภาพและ
สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนต่อไป
การสำรวจครั้งนี้ใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified three – stage Sampling
ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 – 15 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยทำการสัมภาษณ์
สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นจำนวน
ทั้งสิ้น 33,420 คน โดยเป็นประชาชนในเขตเทศบาล 17,460 คน และนอกเขตเทศบาล
15,960 คน ซึ่งผู้ตอบสัมภาษณ์เป็นชาย ร้อยละ 48.9 และหญิง ร้อยละ 51.1
อายุระหว่าง 18 – 29 ปี ร้อยละ 13.6 อายุระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 17.1
อายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 50 – 59 ปี ร้อยละ 23.9 และอายุ
60 ปีขึ้นไปร้อยละ 22.9 ส่วนการศึกษาไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 2.4 ระดับประถม
ศึกษา ร้อยละ 35.9 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 16.5 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 20.8 อนุปริญญา/ปวส./ปวท. หรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.3 ปริญญาตรี
ร้อยละ 15.3 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 1.8 สำหรับอาชีพไม่ได้ทำงาน/ว่างงาน /
1
ร้อยละ 4.1 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษามีสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 3.6 ข้าราชการบำนาญ
ร้อยละ 2.6 แม่บ้าน ร้อยละ 11.0 เกษตรกร ร้อยละ 20.0 รับจ้างเอางานมาทำที่บ้าน
ร้อยละ 0.8 ค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ร้อยละ 13.9 รับจ้างทั่วไป/คนงาน ร้อยละ 12.0
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 16.5 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์กรของรัฐ
ร้อยละ 7.1 ทำงานองค์กรเอกชน (NGOs) ร้อยละ 0.1 เจ้าของกิจการร้านค้า/ธุรกิจขนาดกลาง
ร้อยละ 7.4 ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 0.9
หมายเหตุ : /ไม่ได้ทำงาน/ว่างงาน ได้แก่ ผู้ไม่มีงานทำ รองาน และผู้ไม่ทำงานมีคนเลี้ยง ฯลฯ
1
ข้อมูลระดับภาค และทั่วราชอาณาจักร