Page 46 - kpiebook66018
P. 46

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาถึงสถานะและบทบาทของ
          พระมหากษัตริย์ในสังคมไทยนั้น จะพิจารณาเฉพาะบทบัญญัติ

          ในรัฐธรรมนูญแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ หากแต่จะต้องพิจารณา
          ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของสังคมไทย
          ร่วมกับสิทธิของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมี

          พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ นักวิชาการตะวันตก
          ได้เคยกล่าวถึงสิทธิของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย

          อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่าทรงมีสิทธิที่สำาคัญ 3 ประการ
          คือ


                  (1)   สิทธิที่จะได้รับการปรึกษา (The right to be
                        consulted) ซึ่งหมายถึง สิทธิที่จะทรงรับคำาปรึกษา
                        หารือ


                  (2)   สิทธิที่จะให้กำาลังใจ (The right to encourage)
                        ซึ่งหมายถึง สิทธิในการส่งเสริมนโยบายหรือกิจการ

                        ของรัฐบาลที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

                  (3)   สิทธิที่จะตักเตือน (The right to warn) ซึ่งหมายถึง
                        สิทธิในการตักเตือนรัฐบาลถึงข้อดีข้อเสีย เนื่องจาก

                        พระมหากษัตริย์นั้นเป็นผู้ที่ทรงครองราชย์มายาวนาน
                        ย่อมเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมืองตลอดรัชสมัยของ

                        พระองค์จึงทรงเป็นเสมือนแหล่งสะสมประสบการณ์
                        ของบ้านเมืองมากที่สุด



                       รู้รอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  45
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50