Page 58 - kpiebook65063
P. 58
5. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานการณ์การจัดบริการสาธารณะในปี พ.ศ. 2565 แสดงให้เห็นว่า องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก และมีความโปร่งใส
ในระดับ A ถึงแม้ว่าจะมีประชาชนจำนวนน้อยไม่เกินร้อยละ 35.00 ที่เคยใช้บริการและเคยเข้าไป
มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ประชาชนกลุ่มนี้เกือบทุกคนหรือมากกว่าร้อยละ
90.00 มีความพึงพอใจต่อบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ
64.70 ก็มีความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามจำนวน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ประชาชนที่มีความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง
4 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2562-2565) จากร้อยละ 76.10 ในปี พ.ศ. 2562 เหลือร้อยละ 64.70
ในปี พ.ศ. 2565
แผนภาพที่ 2-20: ร้อยละประชาชนที่มีความเชื่อมั่นต่อการทำงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2562-2565
เรียบเรียงข้อมูลจาก ส่วนที่ 2 สถานการณ์การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) สถาบันพระปกเกล้า. (2563). ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่าง ๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2562 และ
สรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545 – 2562. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 44-45.
2) สถาบันพระปกเกล้า. (2564). ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่าง ๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2563 และ
สรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545 – 2563. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 44-47.
3) สถาบันพระปกเกล้า. (2565). ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่าง ๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2564 และ
สรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545 – 2564. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 42-45.
4) สถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ
ความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ พ.ศ. 2565. อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์. หน้า 12-13.
สถาบันพระปกเกล้า