Page 416 - kpiebook65063
P. 416

ปัญหาและอุปสรรค

                     ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ อยู่ที่การขยายตัวของตำบลทับมา เนื่องจากสภาพตำบลทับมา

               มีโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้นเป็นลำดับ การขยายความเป็นเมืองจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่
               กับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกทั้งการบริหารจัดการน้ำต้องประสานงานกันเป็นองค์รวม

               ดังนั้น การขยายตัวของเมืองใกล้เคียงกับเทศบาลตำบลทับมา อาจส่งผลกระทบต่อทางเดินของน้ำ
               ในอนาคต ปัญหาและอุปสรรคจึงอยู่ที่การติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยงานราชการในพื้นที่
               ภาคเอกชน ภาคประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลทับมา และพื้นที่โดยรอบ                          ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19



               ปัจจัยความสำเร็จและบทสรุป


                     ความสำเร็จของโครงการนี้มีปัจจัยที่สำคัญดังต่อไปนี้

                     1. วิสัยทัศน์ของผู้นำของทุกหน่วยงาน ที่มองเห็นปัญหาน้ำท่วม เป็นปัญหาของคน

               ทุกคนในพื้นที่ และประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ผู้นำตั้งแต่นายกเทศมนตรี
               ตำบลทับมา จนถึงผู้นำชุมชน ต่างแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุของปัญหา และสภาพปัญหา

               ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำไปสู่แนวทางการป้องกัน แต่ละฝ่ายตระหนักดีว่า ปัญหาเรื่องน้ำที่มีมากเกินไป
               ในฤดูฝนเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันความเสียหายได้ และเมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า
               ต้องป้องกันความเสียหาย แต่ละฝ่ายจึงนำข้อมูลมานำเสนอและหาแนวทางร่วมกันจนประสบ

               ความสำเร็จ

                     2. การร่วมมือร่วมใจของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือนี้มาจาก

               การที่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดจากการมีวิสัยทัศน์ร่วมกันตามข้อ 1 และแต่ละภาค
               ร่วมกันเขียนแผนงานรองรับสถานการณ์น้ำท่วม เริ่มตั้งแต่แผนซ้อมเผชิญเหตุจนถึงแผน
               ในการอพยพประชาชนในพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่ในเขตตำบลทับมา ที่ได้รับผลกระทบทำหน้าที่     ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               เขียนแผนในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ และนำแผนดังกล่าวมาหารือกันในที่ประชุมอย่างน้อย
               เดือนละ 1 ครั้ง (หรืออาจมากกว่านั้นหากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน) เพื่อผสานแผนงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

               และลดความซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

                     3. ระบบ และความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ซึ่งวิสัยทัศน์ของผู้นำรวมกับการมีส่วนร่วม
               ของประชาชนจากหลากหลายกลุ่มทางสังคมอย่างกว้างขวาง นำไปสู่การสร้างระบบและกลไก

               การทำงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อผลักดันแผนงานและโครงการให้ไปสู่ทิศทางเดียวกัน
               ทำให้เกิดพลังในระดับชุมชน ดังจะเห็นได้จากการมีการซ้อมแผนเผชิญเหตุ การจัดหางบประมาณ

               ในการสร้างผนังกั้นน้ำท่วมตลอดแนวคลองทับมาจนไปถึงวัดทับมา ซึ่งการมีระบบและกลไก




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    0
   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420   421