Page 228 - kpiebook65063
P. 228

แต่อัตราส่วนที่ปรากฏอยู่จริงคือ เจ้าหน้าที่ 1 คน ทำหน้าที่ดูแลประชากร จำนวน 10,000 คน

               ซึ่งเกินกว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมถึง 4 เท่า ทำให้เกิดสภาวะการทำงานหนักเกินไป

                     เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เป็นงานที่ต้องใช้ประสบการณ์

               ความอดทน และใช้เวลาจำนวนมาก ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดมาสมัครงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว
               แต่อย่างใด ส่งผลทำให้เทศบาลตำบลทับมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และ

               อสม ต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อค้นหาและดูแลผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว และดูเหมือนว่า ปัญหานี้
               ยังไม่อาจแก้ไขได้ด้วยงบประมาณเพียงอย่างใด และเป็นปัญหาที่ต้องใช้เวลานานในการแก้ไข      ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19


                     สิ่งที่ต้องพัฒนาขึ้นมาเพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหานี้คือ เทศบาลตำบลทับมา และ
               สถานพยาบาลในพื้นที่ต้องส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันสภาวะการเจ็บป่วย หรือชะลอ
               โอกาสการเจ็บป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ   เนื่องจากการเน้นการรักษาพยาบาลหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ

               หลังจากสภาพเจ็บป่วยเป็นกิจกรรมที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก  และต้องใช้บุคลากรที่มี
               ความอดทนและมีจิตอาสาในระดับสูง ซึ่งด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน ทำให้

               ไม่มีใครสนใจมาทำงานในตำแหน่งผู้ดูแลผู้สูงอายุที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง

               ปัจจัยความสำเร็จ

                     ปัจจัยความสำเร็จของโครงการนี้เกิดจากปัจจัยภายในเทศบาลตำบลทับมา และปัจจัย
               ภายนอก ดังนี้


                     ปัจจัยภายในเทศบาลตำบลทับมา เกิดจาก 2 ส่วนสำคัญ คือ (1) ภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์
               (Visionary Leaders) ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เนื่องจากผู้นำเทศบาลตำบลทับมาเป็น
               ผู้กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และนโยบายลงสู่ผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจาก

               ผู้บริหารเทศบาลตำบลทับมาได้ศึกษาบริบทของพื้นที่ตำบลทับมา มาอย่างยาวนานจนเห็นถึง
               ความเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างสังคม และเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้จำนวนประชารกรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น   ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               และพื้นที่ตำบลทับมาได้รับการพัฒนาจนมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก ในด้านหนึ่ง
               ส่งผลทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของตำบลทับมา แต่อีกด้านหนึ่ง
               ส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้น ผู้บริหารเทศบาลตำบลทับมา

               จึงได้จัดแยกผู้สูงอายุ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังมีประสบการณ์และยังสามารถใช้ชีวิตในสังคม
               ได้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง และได้จัดทำโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการ

               ของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มได้อย่างถูกต้องและทันการณ์ อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เพียง
               อย่างเดียว ไม่อาจทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยประการที่สองที่ทำให้โครงการ
               ประสบความสำเร็จ คือ ปัจจัยที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรแบบจิตอาสา (2) วัฒนธรรมองค์กรแบบ






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   21
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233