Page 189 - kpiebook65063
P. 189
หลังจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ก็จะเชิญประชุมกลุ่มต่าง ๆ อย่างน้อยเดือนละ
1 ครั้ง เพื่อผลักดันแผนงานและโครงการให้ไปสู่ทิศทางเดียวกันทำให้เกิดพลังในระดับชุมชน
นอกจากนั้น ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงยังสร้างระบบเทียบเคียงประสิทธิภาพ
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ประสิทธิภาพการทำงาน และเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง
ผ่านรูปแบบการส่งโครงการต่าง ๆ เข้าประกวดในระดับประเทศเพื่อรับความคิดเห็นมาปรับปรุง
ได้รับการกระตุ้นความคิดใหม่ๆ ที่ได้จากการประกวดหรือแข่งขันอยู่เสมอ ซึ่งโครงการเดย์แคร์
เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงส่งเข้าประกวดเพื่อขอรับรางวัล
และได้รับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี พ.ศ. 2564 ในที่สุด
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงได้สรุปผลสำเร็จของตนเองภายใต้โมเดล
ที่เรียกว่า PDC: PSSC โดย PDC ย่อมาจาก Plutaluang Day Care และ PSSC ประกอบด้วย
P หมายถึง การวางแผน (Planning) S หมายถึง การสนับสนุน (Supporting) S หมายถึง รักษา
ช่วยเหลือ (Saving) และ C หมายถึง ดูแลใส่ใจ (Caring)
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ยึดถือเอา PDC: PSSC เป็นแนวทางและ
ภาพสะท้อนของความสำเร็จอย่างยั่งยืนของโครงการ และยืนยันว่าความสำเร็จของโครงการเกิด
จากผู้นำทุกหน่วยงานต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจน (Being visionary) ลงมือทำอย่างจริงจัง (Working
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
continuously) ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ออกไปในทุกภาคส่วน (Continuously cascading vision)
บูรณาการทรัพยากรในพื้นที่ (Integrating resources) ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชน
(Supporting community planning) เปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับท้องถิ่น
(Creating Knowledge & Information sharing) ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มทางสังคมได้รับการขึ้น
ทะเบียน (Empowering local social groups) และส่งเสริมระบบการสร้างคู่เทียบ (Creating
benchmarking system)
1 สถาบันพระปกเกล้า