Page 172 - kpiebook65063
P. 172

กรณีวัดป่า ความสอดคล้องกันดังกล่าวทำให้เกิดการอนุรักษ์ป่าขึ้นมา  ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้

               ชาวบ้านเข้ามาใช้ประโยชน์  และอนุรักษ์ไปในตัว ซึ่งภูมิปัญญาทั้งหมดนั้นสามารถพัฒนาเพื่อเป็น
               แหล่งการท่องเที่ยวในเชิงนิเวศของตำบลพลูตาหลวง


                     ในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
               รับราชการ ซึ่งมากถึงร้อยละ 40 ของราษฎรทั้งหมด ร้อยละ 30 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

               ร้อยละ 15 ประกอบอาชีพค้าขาย และร้อยละ 15 ประกอบอาชีพแรงงาน การเกษตรกรรมที่ทำ
               เช่น ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่สับปะรด และสวนผลไม้ การปศุสัตว์ มีการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่   ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               และไก่ชน โดยเฉพาะไก่ชน หรือ ไก่พันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีการเพาะพันธุ์ขายอย่างแพร่หลายและ

               มีกลุ่มการเลี้ยงไก่ชน เกิดขึ้นหลายกลุ่ม ซึ่งสามารถต่อรองการตั้งราคาขายได้ค่อนข้างสูง จัดว่า
               เป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ได้เป็นอย่างดีเกษตรกรโดยทั่วไปมีฐานะความเป็นอยู่ใน

               ระดับพออยู่พอกิน มีการเลี้ยงสัตว์น้ำ  เช่น เลี้ยงปลา ในอดีตเคยมีการเลี้ยงกุ้ง แต่สภาพพื้นที่
               ไม่เหมาะสม จึงไม่อนุญาตให้มีการเลี้ยงอีก มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ สวนบรรพชนสยามจุลกาลสถิต
               ส่วนในด้านอุตสาหกรรมนั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยไม่อนุญาตให้ตั้งโรงงาน

               อุตสาหกรรมที่อาจก่อมลภาวะได้ จึงมีการดำเนินกิจการที่ทำทางด้านอุตสาหกรรมอื่น เช่น
               อุตสาหกรรมผลิตเหยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ขุดเจาะน้ำมัน ผลิตสายไฟชุด ฯลฯ

               ซึ่งเป็นผู้ประกอบรายย่อย โดยภาพรวมแล้ว ประชาชนของตำบลพลูตาหลวง จัดอยู่ในกลุ่มของ
               ผู้มีรายได้น้อย รายได้ไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าครองชีพสูง องค์การบริหารส่วนตำบล
               พลูตาหลวง จึงดำเนินการเข้าช่วยเหลือส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม เพื่อการต่อรองในด้านธุรกิจ

               การตลาด และพัฒนาฝีมือในการประกอบอาชีพต่าง ๆ การประกอบอาชีพเสริม การสร้างทุน
               ทางสังคมโดยวิธีประชาคม ซึ่งส่งผลให้ราษฎรมีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวสูงขึ้น


                     องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ได้จัดทำประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำ
               ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อให้ประชาชนทราบ ดังนี้ รวมรายรับจริง 209,189,556.42 บาท        ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               รวมรายจ่ายจริง 156,227,272.58 บาท ส่วนงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านมา 3 ไตรมาส
               (1 ตุลาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565) องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง มีรายรับจริง
               159,420,441.82 บาท และมีรายจ่ายจริง 100,543,437.88 บาท


               การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                     การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
               จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยที่มาตรา 40 และมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบล

               และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น รัฐมนตรี
               ว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงให้สภาตำบลต่อไปนี้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยให้มีชื่อ




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   1 1
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177