Page 16 - kpiebook65063
P. 16
จำนวน 10 แห่ง ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้ามีการบริหารงาน
1
และการจัดทำบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเลิศ (Best Practices) เพื่อตอบสนองต่อ
ปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง
สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความท้าทายในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น จึงมุ่งดำเนินการต่อยอดจากการมอบรางวัล
พระปกเกล้า โดยทำการศึกษาวิจัยและถอดบทเรียนการบริหารงาน การจัดบริการสาธารณะ และ
นวัตกรรมที่โดดเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าในปี พ.ศ. 2564 ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิด และเป็นตัวอย่างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไป
นำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตน นอกจากนี้ วิทยาลัยคาดหวังว่า
การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ทางอ้อมต่อชุมชนและประชาชนในฐานะผู้รับบริการสาธารณะ
จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่สำคัญยังเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นของไทยให้เป็นรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับการปกครองในระดับประเทศต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและถอดบทเรียนการจัดบริการสาธารณะที่โดดเด่นหรือนวัตกรรมการจัด
บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี
2564
2. เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างการจัดบริการสาธารณะที่โดดเด่นหรือนวัตกรรมการจัดบริการ
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2564
3. เพื่อส่งเสริมการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ ให้มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนที่ 1 บทนำ
3. กรณีศึกษา
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้คัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าปี
พ.ศ. 2564 เป็นกรณีศึกษา รวม 22 แห่ง โดยแบ่งเป็น เทศบาลนคร จำนวน 4 แห่ง เทศบาลเมือง
จำนวน 4 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 5 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
1 รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับรางวัลพระปกเกล้า ปี 2564 ดูได้ใน สถาบันพระปกเกล้า. (2564).
รางวัลพระปกเกล้า’ 64. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 336 หน้า.
สถาบันพระปกเกล้า