Page 3 - kpiebook65043
P. 3
3
คำนำ
ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ประชาธิปไตยกลายเป็น
ระบอบการปกครองที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก
เนื่องจากเป็นระบอบการปกครองที่ตั้งอยู่บนแนวความคิดที่ให้ความสำคัญ
กับสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยกำหนดให้ต้องมีการจำกัดการใช้อำนาจ
ของผู้ปกครองเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจจนเกิดการล่วงละเมิด
สิทธิเสรีภาพของประชาชน และกำหนดให้ต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน จนอาจกล่าวได้ว่า ถ้าหากพิจารณาจากภูมิทัศน์
ทางการเมืองในหลายประเทศทั่วโลกแล้ว ประชาธิปไตยดูเหมือน
จะกลายเป็นกติกาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยก็เหมือนกับระบอบการปกครองอื่น ๆ นั่นคือ ยังมี
การพัฒนาการและยังไม่หยุดนิ่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่โลกได้ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ได้เกิดเหตุ
วิกฤตหลายครั้งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวคิดและกติกา
ของประชาธิปไตย เช่น กรณีวิกฤตการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นใน
ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) ในสหรัฐอเมริกาซึ่งทำให้หลายประเทศ
ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหันมาให้ความสนใจกับความมั่นคง
ของรัฐโดยอาจมีการตรากฎหมายที่กำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินให้รัฐ
สามารถล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางประการได้เพื่อ
ความมั่นคงของรัฐ หรืออาจมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้รัฐบาล
สามารถใช้อำนาจบางประการที่ส่งผลเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนเมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ หรืออย่างกรณีของ
การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศใน ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)
ตลอดจนการเกิดวิกฤตโรคระบาดตั้งแต่ ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562)
เป็นต้นมา ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดมาตรการพิเศษ ตลอดจน
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับวิกฤตดังกล่าวจนอาจก่อให้เกิด
การจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชน และสถานการณ์เหล่านี้
ได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามต่อระบอบประชาธิปไตยว่ายังคงเป็นระบอบ
การปกครองที่สามารถสร้างความมั่งคั่งและความเรืองรองให้แก่