Page 286 - kpiebook65043
P. 286
2 6 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
นิติรัฐและเสรีภาพให้แก่พลเมืองไทย อีกทั้ง ยังส่งผลให้อนาคตของประเทศไทยในศตวรรษ
ที่ 21 เป็นศตวรรษแห่งความหวังในการสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและยั่งยืน
ต่อจากนั้นเป็นการอภิปรายมุมมองและประสบการณ์ต่างประเทศโดยมี ดร.ชิงชัย
หาญเจนลักษณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งมีวิทยากรร่วมอภิปราย ดังนี้ Professor Dr. Mark R.
Thompson ผู้อำนวยการสถาบัน Southeast Asia Research Center จากฮ่องกง Associate
Professor Dr. Youngho Cho อาจารย์สาขารัฐศาสตร์จาก Sogang University ประเทศ
เกาหลีใต้ Dr. Philips J. Vermonte กรรมการบริหารสถาบัน Centre for strategic and
International Studies จาก อินโดนีเชีย และสุดท้าย Dr. Kevin Casas- Zamora เลขาธิการ
สถาบัน The International Institute for Democracy and Electoral Assistance
โดย Professor Thompson ได้กล่าวถึงประเทศไทยในภูมิทัศน์ใหม่ว่า แท้จริงแล้วเป็นกระแส
การตีกลับของประชาธิปไตยหรือที่เรียกว่า Democracy Backsliding ของประชาธิปไตยคลื่น
ลูกที่ 3 ซึ่งกระแสดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปแม้กระทั่งประเทศที่เป็นแม่แบบประชาธิปไตย
อย่างสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันก็มีอีกกระแสหนึ่งที่ออกมาโต้กลับกับกระแสตีกลับ
ของประชาธิปไตย กระแสนั้นก็คือ Push Back หรือการดันกลับของประชาธิปไตย
โดยการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมซึ่งเกิดขึ้นในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ Professor
Thompson ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาทำให้เห็นถึงกระแสความต้องการ
ประชาธิปไตยและการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการซึ่งทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงจนทุกวันนี้
ต่อมา Associate Professor Dr. Youngho Cho ได้กล่าวถึงการประท้วงแสงเทียนในเกาหลีใต้
(Candle Light Protest) ในช่วงปี 2016 และ 2017 ซึ่งไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นความสำเร็จ
ของประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าเกาหลีใต้จะเคยเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการเรียกร้อง
ประชาธิปไตยแต่กลับกลายเป็นว่าความสำเร็จของประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ได้เพิ่ม
การสนับสนุนระบบอำนาจนิยมไปพร้อมกัน ถัดมา Dr. Vermonte ได้กล่าวถึงวิกฤตโรคระบาด
โควิดที่ได้ส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ประชาธิปไตยโดยการเข้ามามีอิทธิพลของเทคโนโลยีที่แสดงถึง
ความล้มเหลวของรัฐบาลประชาธิปไตย ดังนั้น ความท้าทายหลังวิกฤตการณ์โควิดก็คือ
ประชาธิปไตยจะสามารถพลิกฟื้นขึ้นได้หรือไม่ สุดท้าย Dr. Casas Zamora กล่าวว่าในระยะ
2 ปีที่ผ่านมาจำนวนประเทศประชาธิปไตยได้ลดน้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก
ตัวอย่างเช่น ประเทศเมียนมา และอัฟกานิสถาน ที่ผ่านมาประชาธิปไตยในบางประเทศ
ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์หลาย ๆ อย่างได้ เช่น การเลือกตั้งในช่วงโควิด
หรือการแสดงออกทางการเมืองในยุคสมัยที่มีรัฐบาลอำนาจนิยม จึงแสดงให้เห็นว่า
สรุปภาพรวมการประชุมวิชาการ ในภูมิทัศน์ใหม่”โดย Prof Dr. Aurel S. Croissant ได้กล่าวถึงรูปแบบ 3 ประการของ
ประชาธิปไตยเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง
สำหรับการประชุมวิชาการในวันที่ 2 เป็นการแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย คือ หนึ่งรูปแบบ Minimalist โดยใช้ระบบการเลือกตั้งเป็นหมุดหลักสำคัญ
รูปแบบที่สองคือ Middle-Range เป็นรูปแบบเสรีนิยม และสุดท้ายคือรูปแบบ Maximalist