Page 12 - kpiebook65043
P. 12

12   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           ในทางการเมืองมากขึ้น ตลอดจนเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อเคลื่อนไหวและแสดงออกทางการเมือง
           (civic activism) เพื่อเรียกร้องให้รัฐดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการ นอกจากนี้
           ความเจริญก้าวหน้าของสื่อสารสนเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาระบบปฏิบัติการ
           (platform) ของสื่อโซเซียลมีเดียก็ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น

           การรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนนโยบายของพรรคการเมืองอย่างในกรณีของประเทศไทย หรือ
           การรวมกลุ่มที่พัฒนาไปเป็นการจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างในต่างประเทศ นอกจากนี้
           การพัฒนาสื่อสารสนเทศดังกล่าวยังก่อให้เกิดความหลากหลายของสื่อโซเซียลมีเดียซึ่งทำให้

           ประชาชนแต่ละวัยเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อที่มีรูปแบบต่างกัน และส่งผลให้ความแตกต่าง
           ของทัศนคติต่อสังคมและการเมืองมีความชัดเจนกว่าแต่ก่อน อีกทั้ง ยังมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ
           มากมาย ที่ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
           ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เช่น การเปลี่ยนแปลงของการดำเนินนโยบายประชานิยม
           (populism) ซึ่งในอดีตอาจมีเพียงการมุ่งสนองความต้องการของกลุ่มคนรากหญ้า มาเป็น

           การมุ่งสนองความต้องการของกลุ่มนายทุนด้วย หรือแม้แต่การเกิดแนวคิดในการควบคุม
           ความชอบด้วยกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นจนถึงขนาดยอมรับการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของ
           การใช้อำนาจทางการเมืองหรือแม้แต่การออกเสียงประชามติ หรืออาจเป็นกรณีการล้มล้างหรือ

           เปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายอย่างสิ้นเชิงในบางประเทศ
           ที่สำคัญการเกิดวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริหาร
           จัดการภาครัฐและการใช้อำนาจรัฐที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีมา
           สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแม้จะต้องมีการเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตเพี่อป้องกัน
           โรคติดต่อ และการเรียกร้องให้รัฐบาลในฐานะผู้นำของฝ่ายบริหารจะต้องจัดการกับวิกฤต

           โรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่าง ๆ
           ให้น้อยที่สุด หรือการทบทวนเรื่องขอบเขตการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้เหตุผล
           ความมั่นคงของรัฐในการจัดการโรคระบาดด้วย เป็นต้น

                 ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์การปกครองในระบอบ

           ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในประเทศไทย และยังได้สร้างความท้าทาย
           ใหม่ ๆ ทั้งความท้าทายต่อการบริหารจัดการภาครัฐที่จะต้องมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น และ
           ยังต้องสนองความต้องการของประชาชนในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงความท้าทายต่อ

           พรรคการเมืองซี่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ความเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจทางการเมืองที่จะ
           ต้องมีการปรับตัวในด้านนโยบายและการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อรูปแบบของการรวมกลุ่ม
           และความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งปัจจัยเหล่านี้ยังทำให้เกิดความท้าทาย
           ต่อสถาบันทางการเมืองหลักที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่อาจจะต้อง
           ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในยุคพลเมือง

           ตื่นตัว ตลอดจนความท้าทายต่อการปรับตัวของสถาบันตุลาการในฐานะองค์กรที่จะต้องมุ่ง
           ควบคุมความชอบด้วยกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งถือเป็นความชอบธรรม
           ในการวินิจฉัยการดำเนินการของฝ่ายการเมืองที่มีจุดยึดโยงกับประชาชน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17