Page 88 - kpiebook65021
P. 88
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
ตำรำง 5.8 ข้อมูลจ านวนค าตอบและร้อยละในประเด็นสิ่งที่สามารถท าได้เพื่อส่วนรวม
ล ำดับ หมวดหมู่ จ ำนวน ร้อยละ
1 มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน 212 21.16
2 ช่วยดูแลชุมชน / การพัฒนาชุมชน 188 18.76
3 เป็นกระบอกเสียง/ ประสานงานกิจกรรมต่าง ๆ 161 16.07
4 ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ 135 13.47
5 รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 74 7.39
6 การช่วยเหลือกันในชุมชน 71 7.09
7 ไม่สร้างความเดือดร้อน 63 6.29
8 รักษาความสะอาดพื้นที่ชุมชน 44 4.39
9 รักษาสุขภาพ 34 3.39
10 มีความสามัคคีกันในชุมชน รับฟังความคิดเห็น เคารพสิทธิ 20 2.00
ผลการศึกษาในภาพรวมของจังหวัดจันทบุรี แสดงว่าคนจันทบุรีเห็นภาพตนเองในอดีตว่ายังขาดระบบ
สาธารณูปโภคที่ดี เช่น การคมนาคมที่ไม่สะดวก น้ าเพื่อการอุปโภคบริโภคยังไม่ทั่วถึง ขาดไฟฟ้าใช้ และยังขาด
ระบบการสื่อสารที่ดี แต่ในปัจจุบันก็มีความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพการเกษตร เพราะเป็นแหล่งผลผลิต
การเกษตรที่ดี มีประมงพื้นบ้าน และยังเป็นแหล่งท าพลอยของประเทศ ขณะเดียวกัน ชาวจันทบุรียังอยากจะ
เห็นอนาคตอีกห้าปีข้างหน้าในเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น การคมนาคมที่สะดวกและมีคุณภาพ ไฟฟ้ามี
ความเสถียร น้ าประปาเข้าถึงทุกครัวเรือน และมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีส าหรับประชาชน ส่วนอีกสิบปี
ข้างหน้าอยากเห็นมากที่สุดในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและคนรุ่นใหม่ ขณะที่
อีกยี่สิบปีข้างหน้าต้องการเห็นระบบสาธารณูปโภคที่ดีอีก เช่นเดียวกันกับอนาคตที่อยากเห็นในอีกห้าปี
ข้างหน้า โดยเพิ่มในเรื่องของการใช้พลังงานสะอาดและการวางผังเมืองที่เหมาะสม
ภาพอนาคตดังกล่าวที่ประชาชนในจังหวัดต้องการอยากจะเห็น ภาครัฐอย่างส านักงานจังหวัดจันทบุรี
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี อาจน าไปใช้เป็นแบบร่างเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะที่สอดคล้องกับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจากผลการ
สัมภาษณ์ชาวจันทบุรีสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นตามโอกาสต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน
และร่วมผลักดันงบประมาณในระดับพื้นที่ ทั้งสองหน่วยงานสามารถใช้โอกาสนี้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้
ประชาชนมาเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายของจังหวัดที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน อย่างไรก็ดี เมื่อมีการ
พัฒนาเป็นนโยบายที่แต่ละภาคส่วนเห็นชอบร่วมกันแล้ว ในการด าเนินงานตามนโยบายในภาพรวมชาวจังหวัด
จันทบุรียังมีความห่วงกังวลในเรื่องการท างานของหน่วยงานในพื้นที่มากที่สุด เช่น การขาดการบูรณาการ
63