Page 131 - kpiebook65021
P. 131
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
ล ำดับ หมวดหมู่ จ ำนวน ร้อยละ
12 การศึกษา 3 3.30
13 การพัฒนาด้านความทันสมัยและเทคโนโลยี 2 2.20
14 ผู้น า 1 1.10
15 ประชากร 1 1.10
16 ยาเสพติด/อบายมุข 1 1.10
6.4.5 อนำคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องกำรจะเห็นในอีกยี่สิบปีข้ำงหน้ำ
จากค าถามที่ว่า “อีก 20 ปีข้างหน้า ท่านอยากเห็นพื้นที่ของท่านเป็นอย่างไร” พบว่า ผู้ให้ข้อมูล
อยากเห็นในอีก 20 ปีข้างหน้าในพื้นที่ของตน โดยได้มีการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค าถามดังกล่าว
14 ประเด็นด้วยกัน ทั้งนี้ 7 ประเด็นแรกที่ผู้ตอบให้ความส าคัญมากที่สุดตามล าดับ ได้แก่
1) ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาการคมนาคม มีถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต
ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีไฟสองสว่างริมถนน ริมถนนมีทัศนียภาพที่ดี มีต้นไม้สวย ๆ มีความปลอดภัยบนท้องถนน
มีรถไฟความเร็วสูงเพื่อการคมนาคมที่รวดเร็ว มีระบบขนส่งสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ
มีน้ าประปาที่สะอาดสามารถดื่มได้ ไฟฟ้าครอบคลุมทุกพื้นที่ การสร้างเมืองที่ผ่านการวางแผน ผังเมือง โดย
ไม่กระทบต่อ การพัฒนาระบบต่าง ๆ และใช้พลังงานทดแทน
2) การประกอบอาชีพ เกษตรกรได้รับราคาผลผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถก าหนดราคาพืชผล
การเกษตร มีการประกันราคาผลผลิตอย่างเหมาะสม มีการปลูกผลไม้ให้ตรงกับสภาพพื้นที่ มีความเจริญ
ด้านการเกษตร มีการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการท าการเกษตร ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้ที่แน่นอน
มีโครงการพัฒนาอาชีพ และชาวบ้านได้รับเอกสารสิทธิ์ในที่ดินท ากิน
3) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศที่บริสุทธิ์ อยู่ร่วมกับธรรมชาติ
สามารถใช้ประโยชน์จากป่าที่ปลูก สามารถตัดขาย ส่งออกได้ มีแหล่งน้ าที่เพียงพอต่อการท าการเกษตร มีการ
จัดสรรแหล่งน้ าอย่างเหมาะสม
4) เศรษฐกิจ มีเศรษฐกิจที่ดีเทียบเท่าสังคมเมือง ตลาดการค้าชายแดนมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
มีการกระจายรายได้สู่ชุมชน
5) คุณภาพชีวิต ประชาชนในชุมชนกินดีอยู่ดีบนฐานะที่ดีขึ้น ประชาชนได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงเพื่อ
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
6) การพัฒนาด้านความทันสมัยและเทคโนโลยี มีความเจริญ มีห้างสรรพสินค้าในพื้นที่
7) การท่องเที่ยวและสถานที่ส าคัญ มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
106