Page 48 - kpiebook65015
P. 48

47



                  ระบบเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทั้งของ
           ดั้งเดิมและที่แก้ไขเพิ่มเติมในปี 2554 เป็น ระบบผสม ระหว่าง ระบบเสียงข้ำงมำก

           กับ ระบบสัดส่วนบัญชีรำยชื่อ โดยผสมแบบ คู่ขนำน โดยถ้าไม่นับระบบเลือกตั้ง
           เสียงข้างมากธรรมดาเขตละ 3 คน ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ฉบับดั้งเดิมที่ใช้

           ในการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวแล้ว ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากซึ่งใช้มากถึง 75 %
           (375 คน จากทั้งหมด 500 คน ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม 2554)

           และ 80 % (400 คน จากทั้งหมด 500 คน ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540) ล้วนแต่เป็น
           ระบบเลือกตั้งเสียงข้ำงมำกธรรมดำเขตละคน หรือ FPTP ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งที่

           ผู้ชนะการเลือกตั้งไม่จ�าเป็นต้องได้คะแนนเกินครึ่ง ระบบเลือกตั้งนี้จึงท�าให้พรรคใหญ่
           ที่สุดได้เปรียบ คือจะได้จ�านวน ส.ส. มากกว่าจ�านวนคะแนนเสียงที่ได้จากประชาชน

           ขณะที่พรรครอง ๆ ลงไป และพรรคเล็กจะเสียเปรียบ โดยยิ่งเป็นพรรคเล็กก็ยิ่ง
           เสียเปรียบเพราะคะแนนที่แพ้จะไม่ถูกน�ามาใช้เลย


                  ดังตัวอย่างกรณีพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
           ซึ่งได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจ�านวน 310 คน จากทั้งหมด 400 คน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์

           เท่ากับได้ ส.ส. มากถึง 77.5 % ขณะที่คะแนนเสียงจริง ๆ ในแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
           พรรคไทยรักไทยได้เพียง 51.10 % เท่านั้น ส่วนพรรคอันดับสองคือพรรคประชาธิปัตย์

           ได้คะแนนในแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 22.89 % แต่ได้ ส.ส. แค่ 17.5 % ในขณะที่
           พรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กจะเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัดเจนยิ่งกว่า คือ

           พรรคชาติไทยได้คะแนน 9.65 % แต่ได้ ส.ส. เพียง 4.5 % และพรรคมหาชนได้คะแนน
           6.88 % แต่ได้ ส.ส. เพียง 0.5 % คือ 2 คนเท่านั้น ดังที่ได้แสดงข้อมูลไว้ในตาราง 6 นี้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53