Page 63 - kpiebook65012
P. 63

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  63



          องค์ความรู้ใหม่ ๆ นั้น เพื่อทบทวนและจัดท�าองค์ความรู้ด้านการพัฒนา

          ประชาธิปไตยอย่างรอบด้านและทันสมัย ซึ่งจากการสถานการณ์ต่าง ๆ
          การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงจ�าเป็นต้องมีการส�ารวจ

          ติดตามสถานการณ์ และการทบทวนองค์ความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
          ใหม่ ๆ และเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกช่วงวัย และ
          การพัฒนารูปแบบการเข้าใช้งานในรูปแบบดิจิทัล โดยเล็งเห็นถึง

          ความส�าคัญขององค์ความรู้ด้านการเลือกตั้งในประเทศไทยที่มีทั้ง
          การเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น


                  เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทยนั้นมีระบบที่มี
          ความซับซ้อนกว่าการเลือกตั้งระดับชาติ ด้วยมีระบบองค์กรปกครอง

          ท้องถิ่นถึง 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จ�านวน
          76 แห่ง และเทศบาล (ซึ่งมี 3 แบบย่อย คือ เทศบาลนคร จ�านวน 30 แห่ง
          เทศบาลเมือง จ�านวน 195 แห่ง และเทศบาลต�าบล จ�านวน 2,247 แห่ง)

          องค์การบริหารส่วนต�าบล (อบต.) จ�านวน 5,300 แห่ง กรุงเทพมหานคร
          และเมืองพัทยา ดังนั้น ความเข้าใจในเรื่องของข้อมูลและระบบการเลือกตั้ง

          ในระดับท้องถิ่นในรอบนี้จึงมีความส�าคัญต่อการตัดสินใจของผู้เลือกตั้ง
          เป็นอย่างมาก

                  นอกเหนือจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดิมแล้ว กลุ่มคนรุ่นใหม่

          (อายุ 18-35 ปี) ซึ่งหลายคนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรก อาจจะยัง
          ขาดความเข้าใจหรือสับสนในโครงสร้างและอ�านาจหน้าที่ขององค์กร

          ปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องและกติกาการเลือกตั้งในครั้งนี้
          รวมถึงสิทธิและความส�าคัญของบุคคลในการมีส่วนร่วมในการเมืองท้องถิ่น
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68