Page 13 - kpiebook65011
P. 13
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
หลังการทำรัฐประหารของจอมพลถนอม กิตติขจร คณะปฏิวัติ
ได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 วันที่ 21 ธันวาคม 2514
ให้รวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นหนึ่งจังหวัด เรียกว่า
นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25
วันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้มีการรวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาล
นครธนบุรีเป็นเทศบาลสำหรับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เรียกว่า เทศบาล
นครหลวง
4) ช่วงการก่อตั้งกรุงเทพมหานคร (ตั้งแต่ พ.ศ. 2515)
แบ่งออกเป็นช่วงประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ช่วงพระราช
บัญญัติ พ.ศ. 2518 และช่วงพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2528
ช่วงประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 วันที่ 13 ธันวาคม 2515
ประกาศให้เรียกนครหลวงของประเทศไทยว่า กรุงเทพมหานคร โดยรวม
กิจการของนครหลวงกรุงเทพธนบุรี องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพ
ธนบุรี เทศบาลนครหลวง และสุขาภิบาลต่าง ๆ ในเขตนครหลวงกรุงเทพ
ธนบุรีไปเป็นของกรุงเทพมหานคร และให้มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งแต่งตั้งและถอดถอนโดย
คณะรัฐมนตรี มีสภากรุงเทพมหานครซึ่งประชาชนเลือกตั้งและผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง (อย่างไรก็ดี ประกาศกำหนด
ให้ 4 ปีแรกให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งสมาชิกสภาแทน
การเลือกตั้ง) และให้แบ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครออกเป็นเขตและแขวง
ต่อมาเป็นช่วงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวง
การเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง
สภากรุงเทพมหานครมีสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ มีการเลือกตั้ง
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
5