Page 64 - kpiebook64013
P. 64
200 คน มีวุฒิการศึกษาขั้นตำ่าปริญญาตรี และต้องไม่เป็นข้าราชการ
ประจำา และมีวาระการดำารงตำาแหน่ง 6 ปี นับเป็นมิติใหม่ทางการเมือง
ที่กำาหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยไม่ต้องมีการ
หาเสียงและไม่สังกัดพรรคการเมือง 1
การบัญญัติให้มีวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 นั้นมีจุดมุ่งหมายที่กว้างกว่าในอดีตที่วุฒิสภา
มีฐานะเป็นเพียง “สภาพี่เลี้ยง” ทำาหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ออกโดย
สภาผู้แทนราษฎรให้มีความรอบคอบหรือเป็นสภาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อผู้คำ้าจุน
เสถียรภาพของรัฐบาลในบางยุคสมัย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 จึงได้กำาหนดเกี่ยวกับอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาไว้
โดยให้มีอำานาจหน้าที่ในเรื่องการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย ควบคุม
ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน และการให้ความเห็นชอบในเรื่อง
สำาคัญๆ และยังเพิ่มอำานาจหน้าที่ใหม่ๆ อาทิ การพิจารณาเลือก แต่งตั้ง
ให้คำาแนะนำาหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำารงตำาแหน่งในองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญและถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการ
ระดับสูงให้ออกหรือพ้นจากตำาแหน่งให้แก่วุฒิสภา โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) บทบาทและอ�านาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 มีอำานาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติที่สำาคัญ 4 ประการ คือ 1. การกลั่น
กรองกฎหมาย 2. การพิจารณาอนุมัติพระราชกำาหนด 3. เสนอให้แก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 4. เสนอให้ตรวจสอบ
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา 2
1 ภูมิ มูลศิลป์ และชมพูนุท ตั้งถาวร. รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของ
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 128.
2 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และปัทมา สูบกำาบัง. (2543). บทบาทและอำานาจหน้าที่
ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
64 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย