Page 256 - kpiebook64013
P. 256

รัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

          ประธานกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธาน
          กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำารงตำาแหน่ง
          ไม่ตำ่ากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำานวน

          หนึ่งคน และตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ
          ในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำานวนหนึ่งคนทำาหน้าที่สรรหา

          สมาชิกวุฒิสภาจากรายชื่อบุคคลที่องค์กรวิชาชีพต่างๆ เสนอ

                   เพื่อแก้ปัญหาในอดีต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นสภาของ

          ผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลาย และเป็นกลางมากที่สุดจึงได้กำาหนด
          คุณสมบัติ โดยต้องมีอายุ 40 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
          และต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ดำารง

          ตำาแหน่งทางการเมือง รวมทั้งต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำารงตำาแหน่ง
          ในพรรคการเมือง ซึ่งในกรณีที่เคยเป็นผู้ดำารงตำาแหน่งดังกล่าว ต้องพ้น

          จากตำาแหน่งนั้นๆ มาแล้วเกินกว่า 5 ปีนับถึงวันรับสมัคร หรือวันที่ได้รับ
          การเสนอชื่อ โดยมุ่งหวังจะให้วุฒิสภาสามารถทำาหน้าที่ได้อย่างอิสระ
          อันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในแง่การนิติบัญญัติ

          การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งและถอดถอนบุคคล
          ตามที่กฎหมายบัญญัติ และอื่นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำานาจ

          อย่างไรก็ตาม สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          พุทธศักราช 2550 กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชนบางส่วนว่า
          ทำาให้พัฒนาการด้านประชาธิปไตยของไทยก้าวถอยหลังสืบเนื่องมาจาก

          สมาชิกวุฒิสภานั้นควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อันเป็นการส่งเสริม
          การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามหลักการประชาธิปไตย






       256   บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261