Page 135 - kpiebook64013
P. 135
การเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ
ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำางานหรือเคยทำางานด้านต่างๆ
ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำาให้
ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้
และเพื่อให้การปฏิรูปประเทศในระยะเปลี่ยนผ่านบรรลุเป้าหมาย
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
จึงกำาหนดให้มี “วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล” ขึ้นในวาระเริ่มแรก (ภายใน
5 ปีแรก) จำานวน 250 คน ซึ่งมีหน้าที่และอำานาจที่เพิ่มขึ้นจาก “วุฒิสภา
ตามบทบัญญัติหลัก”
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำาหนดบทบาท
อำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาไว้อย่างจำากัด โดยส่วนมากจะถูกจำากัดบทบาท
เป็นเพียงสภาพี่เลี้ยงในการขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา และหน้าที่
ในการแต่งตั้งบุคคลในตำาแหน่งสำาคัญต่างๆ ได้แก่ แต่งตั้งตุลาการของ
ศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งตุลาการของศาลปกครองสูงสุด แต่งตั้งกรรมการ
ตุลาการศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ตลอดจนแต่งตั้งบุคคลให้ดำารง
ตำาแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อมาเมื่อมีการจัดทำารัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำาหนดบทบาทของวุฒิสภาใหม่
ด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาไม่ใช่สภาพี่เลี้ยงของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างเดิม หากแต่เป็น “สภาเติมเต็ม” โดยจะช่วย
พิจารณาร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ให้รอบด้าน เพราะเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือ
เคยทำางานในด้านต่างๆ จากภาคส่วนที่หลากหลายของสังคม นอกจากนั้น
ยังคงอำานาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้ดำารงตำาแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ
135