Page 94 - kpiebook64010
P. 94

แม้กลุ่มพลังนนท์ไม่ได้ประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

               นนทบุรีในนามพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่รู้กันดีว่า นายฉลอง เรี่ยวแรงซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มมี
               ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพรรคพลังประชารัฐอย่างใกล้ชิด เพราะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี

               2562 ที่ผ่านมา นายฉลอง เรี่ยวแรงถือเป็นผู้ที่มีบทบาทส าคัญของพรรคในการรับผิดชอบสู้ศึกเลือกตั้งในเขต
                                                                                                19
               พื้นที่จังหวัดนนทบุรี รวม 2 เขตจากทั้งหมด 6 เขต ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 2   โดยนาย
               ฉลอง เรี่ยวแรงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีในเขตเลือกตั้งที่ 2 และได้ส่ง

               ภรรยา คือ นางเจริญ เรี่ยวแรง ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีในเขตเลือกตั้ง
               ที่ 1 แม้ว่านายฉลอง เรี่ยวแรงพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมือง

               ต าแหน่งประจ าส านักนายกรัฐมนตรี ขณะที่นางเจริญ เรี่ยวแรงสามารถเอาชนะแชมป์เก่า คือ นายนิทัศน์ ศรี
               นนท์ที่สังกัดพรรคเพื่อไทยและได้ด ารงต าแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต 1


                      นายฉลอง เรี่ยวแรง หัวหน้ากลุ่มพลังนนท์ เป็นชาวนนทบุรีโดยก าเนิด และเริ่มเขาสู่แวดวงการเมืองใน

               ระดับท้องถิ่นโดยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครนนทบุรีในปี 2538 - 2539 จากนั้นเข้าสู่การเมืองระดับชาติโดย
               ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2539 นับตั้งแต่เข้าสู่การเมืองระดับชาติในปี 2539 –

               2562 นายฉลอง เรี่ยวแรงได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี รวม 3 ครั้งจากการ
                                                                   20
               เลือกตั้งทั้งหมด 6 ครั้ง และได้ย้ายพรรคการเมืองมาโดยตลอด   ซึ่งจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               ครั้งล่าสุดในปี 2562 ได้ย้ายจากพรรคเพื่อไทยมาสู่พรรคพลังประชารัฐโดยนายฉลอง เรี่ยวแรงให้เหตุผลว่า

               ความคิดเห็นของตนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมักไม่ได้รับการตอบสนองจากพรรคเพื่อไทย และชื่นชอบ
               โครงการน าสายไฟฟ้าลงใต้ดินของพรรคพลังประชารัฐเป็นพิเศษและต้องการน ามาท าที่จังหวัดนนทบุรี


                              “ตนเองโดยปกติไม่มีกลุ่ม ไม่มีก๊วนอยู่แล้ว ฉะนั้น ในการเเสดงออกความคิดเห็น หรือ
                      น าเสนอสิ่งใดต่อพรรค เป้าหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน มักไม่ค่อยได้รับการตอบสนองกลับมา

                      เท่าไรนัก เพราะเสียงดังไม่พอ ซึ่งชาวบ้านต้องการหรือมีความเดือดร้อนในจุดต่าง ๆ เราในฐานะ

                      ตัวแทนก็พูดอะไรไปในหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ เรื่อง ก็เงียบหาย ผมจึงออกก็ได้ เข้าก็ได้ เพราะศักยภาพ




                      19  เขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนนทบุรี เขตเลือกตั้งที่ 1
               ประกอบด้วยอ าเภอเมืองนนทบุรี (เฉพาะต าบลบางเขน ต าบลบางกระสอ และต าบลท่าทราย) และอ าเภอปากเกร็ด (เฉพาะ

               ต าบลท่าอิฐ ต าบลอ้อมเกร็ด ต าบลบางพลับ และต าบลเกาะเกร็ด) และเขเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วยอ าเภอเมืองนนทบุรี
               (เฉพาะต าบลตลาดขวัญ ต าบลสวนใหญ่ ต าบลบางไผ่ ต าบลบางศรีเมือง ต าบลบางกร่าง ต าบลบางรักน้อย และต าบลไทรม้า)
                      20  ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์. (2553). นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: ส านักวิจัยและพัฒนา สถาบัน

               พระปกเกล้า, หน้า 107-110.














               โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี   72
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99