Page 79 - kpiebook64010
P. 79
บทที่ 3
ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรเมืองระดับชำติกับกำรเมืองระดับท้องถิ่นในกำรเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(ส.อบจ.) นนทบุรี ปี 2563 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเมืองระดับชาติที่เข้ามามีบทบาทหรือมีอิทธิพลต่อ
การเมืองระดับท้องถิ่นอย่างชัดเจน โดยพรรคการเมืองได้ประกาศส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. อย่างเป็น
ทางการในนามพรรค และถึงแม้มีผู้สมัครที่ประกาศลงสมัครในนามกลุ่มการเมืองท้องถิ่น แต่เมื่อพิจารณาประวัติ
ทางการเมืองแล้วกลับพบว่า เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพรรคการเมือง
การเมืองระดับชาติได้เข้ามามีบทบาทหรือมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.อบจ. ในปี 2563
อย่างใกล้ชิด เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กลายเป็นฐานเสียงหรือเครือข่ายส าคัญของพรรคการเมือง
เนื่องจากระบบการเลือกตั้งและการนับจ านวนที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่ในปี 2562 ที่เรียกว่า ระบบ
จัดสรรปันส่วนผสม หรือ Mixed Member Apportionment System (MMA) ท าให้พรรคการเมืองจ าเป็นต้องมี
ฐานเสียงที่เข้มแข็งกระจายอยู่ในท้องถิ่นทั่วประเทศ
ในการเลือกตั้งนายก อบจ. นนทบุรีครั้งนี้ จึงมีพรรคการเมืองประกาศส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.
อย่างเป็นทางการในนามพรรค ได้แก่ คณะก้าวหน้า ขณะที่ พรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทยไม่ได้ประกาศส่ง
ผู้สมัครนายก อบจ. นนทบุรีอย่างเป็นทางการในนามพรรค แต่เป็นที่รู้โดยทั่วกันในพื้นที่ว่า ทั้งสองพรรคอยู่
เบื้องหลังหรือมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การเลือกตั้ง
นายก อบจ. นนทบุรีในปี 2563 มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. รวม 4 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ที่ลงสมัครโดยสังกัด
พรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ จ านวน 1 ราย คือ นายไพบูลย์ กิจวรวุฒิ ซึ่งลงสมัครในสังกัดคณะก้าวหน้า ผู้ที่มี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพรรคการเมือง จ านวน 2 ราย คือ นายฉลอง เรี่ยวแรง ซึ่งลงสมัครในสังกัดกลุ่มพลังนนท์
แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพรรคพลังประชารัฐ และพันต ารวจเอก ธงชัย เย็นประเสริฐ ซึ่งลงสมัครในสังกัดกลุ่ม
ผึ้งหลวง แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ ยังมีผู้สมัครอิสระที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรค
การเมืองแต่อย่างใด จ านวน 1 ราย คือ นางพิมพร ชูรอด
แม้ว่าในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคไทยรักไทย
ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทย แต่ในการเลือกตั้งนายก อบจ. นนทบุรีครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย รวมถึง
พรรคพลังประชารัฐ หลีกเลี่ยงที่จะประกาศส่งผู้สมัครนายก อบจ. นนทบุรีอย่างเป็นทางการ เพราะเกรงว่าจะท า
ผิดกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 57