Page 3 - kpiebook64010
P. 3

ค ำน ำ


                       รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภา

               องค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบัน

               พระปกเกล้า ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่น
               ให้เป็นรากฐานที่เข้มแข็งของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย ได้จัดให้มีโครงการศึกษาวิจัยนี้โดยมี

               วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก

               สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด การจัดการเลือกตั้ง และปัญหาที่เกิดขึ้นใน
               การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้คัดเลือก 5 กรณีศึกษาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีก็

               เป็นหนึ่งในกรณีศึกษา

                       รายงานวิจัยเล่มนี้มีเนื้อหา รวม  6 บท ได้แก่ บทน าซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขต

               การศึกษาวิจัย วิธีการศึกษาวิจัย และระยะเวลารวมถึงขั้นตอนในการศึกษาวิจัย บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไปขององค์การ

               บริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี บทที่ 3 ความสัมพันธ์ของการเมืองระดับชาติที่เข้ามามีบทบาทต่อการเมืองระดับ

               ท้องถิ่น บทที่ 4 พฤติกรรมและวิธีการหาเสียงของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง บทที่ 5 การจัดการเลือกตั้งทั้งในเชิง
               กระบวนการการจัดการเลือกตั้ง การจัดให้มีการออกเสียงลงคะแนนใหม่ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในการ

               เลือกตั้ง ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ และบทที่
               6 สรุปผลการศึกษาวิจัยและให้ข้อเสนอแนะต่อข้อกฎหมายและกระบวนการการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เพื่อน าไปสู่

               การพัฒนาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นให้มีคุณภาพและมีความโปร่งใสต่อไป


                       ผู้วิจัยหวังว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็น
               กลไกส าคัญที่ท าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักประชาธิปไตย การเลือกตั้งที่มีคุณภาพและ

               ความบริสุทธิ์ยุติธรรมจะช่วยให้ประชาชนมีอ านาจในการตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเพื่อเข้ามาท าหน้าที่ในการ
               บริหารท้องถิ่นและออกกฎหมายเพื่อประโยชน์สุขของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้การปกครองท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและ

               เป็นรากฐานที่มั่นคงของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยต่อไป




                                                                                วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น

                                                                                             สถาบันพระปกเกล้า







                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี   ก
   1   2   3   4   5   6   7   8