Page 176 - kpiebook64010
P. 176

นอกจากนี้ แต่ละกลุ่มการเมืองยังมีจุดเด่นในการหาเสียงที่เหมือนกันคือ การใช้สื่อสังคม

               ออนไลน์หรือเฟซบุ๊กเข้ามาช่วยในหาเสียงค่อนข้างมาก ทั้งแฟนเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มและเฟซบุ๊กส่วนตัวของ
               ผู้สมัคร โดยมีการลงเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายที่ใช้ในการหาเสียง การแนะน าตัวผู้สมัคร การหาเสียงด้วยการใช้

               ถ้อยค าโน้มน้าวหรือจูงใจ การลงสื่อหาเสียงอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายทอดสด (Live) ระหว่างการหาเสียงทั้งการ

               เดินหาเสียงตามชุมชน การเคาะประตูบ้าน การล่องเรือหาเสียงตามชุมชนริมแม่น้ า การขึ้นรถแห่
               ประชาสัมพันธ์ การสัมภาษณ์หรือพูดคุยกับผู้สมัครโดยตรง และการจัดเวทีปราศรัย รวมถึงยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับ

               การให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง อาทิ บัตรสองใบ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และขั้นตอนการ
               ลงคะแนนเสียง ตลอดจนการรณรงค์ให้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันรับสมัครเลือกตั้งจนถึงวัน

               ก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คือ ในช่วงวันที่ 2 พฤศจิกายนจนถึง 19 ธันวาคม 2563 คณะก้าวหน้าได้ใช้
               แฟนเพจเฟซบุ๊กในการหาเสียงบ่อยครั้งที่สุดโดยมีการลงเนื้อหา รวม 83 ครั้ง ขณะที่กลุ่มพลังนนท์และกลุ่มผึ้ง

               หลวงลงเนื้อหาในจ านวนที่ใกล้เคียงกัน คือ 51 ครั้ง และ 49 ครั้งตามล าดับ


                              ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ท าการเปรียบเทียบพฤติกรรมการหาเสียงทั้งในด้านนโยบายที่ใช้ในการหาเสียง

               และวิธีการหาเสียงของแต่ละกลุ่มการเมืองรวมถึงผู้สมัครอิสระ โดยสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้






















































               โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี   154
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181