Page 180 - kpiebook64009
P. 180

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีการจัดการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2557
                       โดยมีนายมาโนช เสนพงศ์ ได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่ง ด ารงต าแหน่งนายกองค์การบริหาร
                       ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมาภายหลัง นายมาโนช เสนพงศ์ ได้ถูกศาลตัดสินจ าคุก
                       จากคดีทุจริตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ท าให้การแข่งขัน

                       การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ ล้วนเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ทั้งสิ้น
                       มีเพียงนายพิชัย บุณยเกียรติ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหนึ่งเดียวที่เคยด ารงต าแหน่งอดีตนายกองค์การบริหาร
                       ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ไม่ได้สร้างความได้เปรียเสียเปรียบในการแข่งขันอย่างใด
                              ขณะที่การแข่งขันการเลือกตั้งของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

                       พบว่า สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ในต าแหน่งและลงสมัครรับเลือกตั้ง
                       อีกครั้งมีอยู่จ านวน 25 คน จากผู้สมัครทั้งหมดจ านวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 16.13 ขณะที่ผู้สมัคร
                       หน้าใหม่มีการวางแผนลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
                       มาเป็นเวลานานความได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องของการใช้ทรัพยากรในการหาเสียงระหว่างผู้สมัครเดิม

                       ในต าแหน่งกับผู้สมัครหน้าใหม่จึงไม่ได้สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้
                              ด้านเจตนารมณ์ของกฎหมายในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งกับผลที่เกิดขึ้นจริง
                       ในพื้นที่นั้น ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ถึงแม้ว่าตัวบทกฎหมายจะก าหนดและควบคุม

                       ค่าใช้จ่ายในการรณรรงค์หาเสียงเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องจัดท ารายงานรายรับ-รายจ่าย
                       ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดนครศรีธรรมราช
                       ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกฝ่ายตามเจตนารมณ์
                       ของกฎหมาย เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้พบว่า
                       ผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่จะท าบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นสองฉบับ คือ ฉบับที่เป็นรายรับ-รายจ่าย

                       ที่เกิดขึ้นจริง และอีกฉบับ เป็นรายรับ-รายจ่าย ส าหรับส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัด
                       นครศรีธรรมราช เหตุผลที่ต้องท ารายรับ-รายจ่าย เป็น 2 ฉบับ เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งบางราย
                       มีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กฎหมายก าหนด และผู้สมัครบางรายมีรายการค่าใช้จ่ายผ่านหัวคะแนนที่ไม่สามารถ

                       เปิดเผยได้
                              นอกจากนี้  จากการสังเกตการและลงพื้นที่ พบว่า  ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะมีความรู้
                       ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นมากขึ้น  โดยมองว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นการเลือกตัวแทนเข้า
                       ไปท าหน้าที่ดังนั้นประชาชนในท้องถิ่นจะต้องให้ความส าคัญในการตัดสินใจเลือกตั้ง  เพื่อหาคนที่มีความรู้

                       ความสามารถเข้าไปท าหน้าที่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ดังนั้น ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จึง
                       มองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ต้องการคนใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาบริหารงาน เข้ามาดูเเลที่เข้ามาบริหาร
                       แก้ปัญหาให้กับประชาชนได้ โดยพิจารณาจากนโยบายการหาเสียงการเลือกตั้งของผู้สมัคร ว่าตอบโจทย์
                       ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่หรือไหม ดูจากหลักการหาเสียง ไม่ได้เลือกจากการซื้อเสียง

                       หรือ การเป็นนักการเมืองเหมือนกัน หรือ เป็นญาติมิตรที่สนิทกัน เลือกเพราะอยากให้มาช่วยกันพัฒนา
                       ท้องถิ่นให้ดีขึ้น แต่ก็มีประชาชนบางส่วนที่มองว่าจะตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับคนที่เป็นญาติ





                            โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช   162
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185