Page 126 - kpiebook64009
P. 126

บทที่ 3
                                              บรรยำกำศทำงกำรเมืองของกำรเลือกตั้ง

                              สมำชิกสภำองค์กำรบริหำรส่วนต ำบลและนำยกองค์กำรบริหำรส่วนจังหวัด


                       ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงนักกำรเมืองระดับชำติและกำรเมืองท้องถิ่น

                              พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความส าคัญในทุกระบอบการเมือง  โดยมีจุดมุ่งหมาย
                       หลัก คือ การเข้าไปกุมอ านาจของรัฐบาล โดยการน าเสนอแนวนโยบายของพรรคและคัดสรรบุคคลเข้า

                       ร่วมแข่งขันในนามของพรรค เพื่อชัยชนะในการเลือกตั้ง พรรคการเมืองต้องอาศัยประชาชนและการเมือง
                       ท้องถิ่นเป็นฐานสนับสนุน  ในทางกลับกันการเมืองท้องถิ่นเองก็ต้องอาศัยฐานของพรรคการเมือง
                                                                                       5
                       เพื่อผลักดันและสนับสนุนนโยบายและงบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น
                              เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีประกาศ เรื่อง ก าหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
                       บริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  พบว่า มีพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองเพียง
                                                                     6
                       2 พรรค  1 กลุ่ม ที่ประกาศส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในนามของพรรคและ
                       กลุ่มอย่างเป็นทางการ ได้แก่ คณะก้าวหน้า จ านวน 42 คน พรรคเพื่อไทย จ านวน 25 คน และพรรค
                       ประชาธิปัตย์ จ านวน 2 คน (สงขลาและสตูล)  พรรคการเมืองอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่มี

                       นโยบายส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในนามพรรคอย่างเป็นทางการ ด้วยเกรง
                       ว่าอาจสุ่มเสี่ยงต่อการท าผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ห้ามข้าราชการการเมือง ตลอดจน ส.ส. กระท า
                                                                7
                       การใดๆ ที่เป็นคุณหรือโทษต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง  บรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน
                       จังหวัดส่วนใหญ่จึงตัดสินใจลงสมัครในกลุ่มอิสระ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับพรรคการเมือง เพราะถึงแม้

                       พรรคการเมืองจะไม่ได้มีการประกาศชัดเชน  แต่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ก็ทราบอยู่แล้วว่าบรรดาผู้สมัครแต่
                       ละรายมีพรรคการเมืองหรือนักการเมืองฝ่ายใดให้การสนับสนุน
                              จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดเป็นเขตอิทธิพลทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ที่พรรค
                       ประชาธิปัตย์สามารถชนะการเลือกตั้งในสนามการเมืองระดับชาติในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้

                       ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2554 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2562 เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญในการเลือกตั้ง

                              5  พินสุดา วงอนันต์,พรรคการเมืองกับการเมืองท้องถิ่น : ข้อค้นพนเบื้องต้นเฉพาะกรณี
                       กรุงเทพมหานครและองค์การบริหารส่วนจังหวัด, วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 11 .
                       ฉบับเพิ่มเติม (กรกฎาคม-ธันวาคม), 121-158.

                              6  ราชกิจจานุเบกษา,คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ เรื่อง ก าหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
                       สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564,
                       จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/089/T_0001.PDF

                              7 the101,การเลือกตั้ง อบจ.’63 บอกอะไรเรา.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564, จาก
                       https://www.the101.world/after-the-provincial-election-63/.



                            โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช   108
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131