Page 116 - kpiebook64007
P. 116
ส าหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาการบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ได้ยึดติดกับบรรยากาศการเมือง
ระดับชาติ หรือการแลกผลประโยชน์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับตน แต่ให้น้ าหนักไปกับนโยบายที่
ใช้หาเสียงและตัวบุคคลมากกว่า โดยปัจจัยทั้งสองประการมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55 จากปัจจัย
ทั้งหมดรวมกัน ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าทิศทางการเมืองระดับชาติหรือผลการเลือกตั้งในระดับชาติ
ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นเท่าใดนัก
โดยสรุป การเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2563
เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบหลายปี หากไม่นับเลือกตั้ง ส.อบจ. และ นายก อบจ. ปี พ.ศ.
2563 มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ. 2555 ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2563 ซึ่งการเลือกตั้งทั้ง 2 ปี
จังหวัดขอนแก่นมีเขตเลือกตั้งในการเลือก ส.อบจ เท่ากันคือ 42 เขตเลือกตั้ง จังหวัดขอนแก่นมี
ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มากที่สุดในประเทศไทย คือ 10 คน และ
มีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (ส.อบจ.) จ านวน 177 คน จาก
การหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ. พบว่ามีการประกาศหรือแสดงตัวสังกัดพรรคการเมืองหรือ
กลุ่มการเมืองอย่างชัดเจนในหลายเขตและหลายผู้สมัคร ในขณะที่ผู้สมัคร นายก อบจ. ไม่มีผู้สมัครคน
ใดแสดงตัวหรือประกาศสังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดอย่างชัดเจน ที่เห็นได้จากวิธีการ
และรูปแบบการหาสียงที่แตกต่างไปจากอดีตด้วย กล่าวคือ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2563 ผู้สมัครทั้ง ส.
อบจ.และนายก อบจ. ลดการหาเสียงแบบใช้สื่อแบบเดิม แต่เพิ่มการหาเสียงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์
อย่างเห็นได้ชัด จากผลการเลือกตั้งพบว่า ผู้ชนะเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
เป็นอดีตนายก 5 วาระ ซึ่งด ารงต าแหน่งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 และผู้ชนะเลือกตั้งสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นเป็นอดีตสมาชิกสภาคนเดิม จ านวน 22 คน จากทั้งหมด 42 คน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะต่อกฎหมำย ประกำศ ระเบียบ ที่เกี่ยวกับกำรเลือกตั้งท้องถิ่น
1) ควรเพิ่มกฎหมายก าหนดวาระของผู้ด ารงต าแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อไม่ให้ผูกขาดอ านาจ
ทางการเมืองจนมากเกินไป เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบางคนอยู่ในต าแหน่งนาน
เกินไป
2) สร้างให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีความพร้อมรับผิด (Accountability) ทางการเมืองผ่านการให้
ผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง เนื่องจากการให้ผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง ในการปฏิบัติงานตลอด
ระยะเวลาการด ารงต าแหน่งจะต้องค าหนึ่งถึงคนที่พรรคการเมืองจะส่งลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งต่อไป
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 99