Page 100 - kpiebook64007
P. 100
หากกล่าวโดยสรุป ผลการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดขอนแก่นจ านวน 748
คน เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีข้อค้นพบส าคัญหลาย
ประการ ดังนี้ ในเรื่องความตื่นตัว ความสนใจ และการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผลการส ารวจพบว่า
ประชาชนถึงหนึ่งในสี่ตั้งตารอคอยการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นในระดับที่มากที่สุด
ทั้งยังพบว่าประชาชนร้อยละ 55.4 ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตในการหาเสียงเลือกตั้งในเขตของ
ตน ในขณะที่ร้อยละ 44.6 รับทราบข้อมูลการทุจริตในการหาเสียงเลือกตั้งในเขตของตนเอง อย่างไร
ก็ดี ประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่าการซื้อเสียงของผู้สมัครไม่มีผลต่อการตัดสินใจของตน
ส าหรับการหาเสียงที่ผู้สมัครนิยมใช้เพื่อสื่อสารทางการเมืองกับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน
เขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ผลการส ารวจพบว่าวิธีการหาเสียงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งนิยมใช้มากที่สุดสาม
อันดับแรก คือ การใช้รถโฆษณาพร้อมเครื่องขยายเสียง การแจกใบปลิว และการพบปะเยี่ยมเยือน
โดยทั้งสามวิธีนี้เป็นวิธียอดนิยมที่อยู่ในการรับรู้ของประชาชน คิดเป็นสัดส่วนวิธีที่นิยมใช้ถึงร้อยละ
74.4 ทั้งนี้ พึงตั้งข้อสังเกตว่าสัดส่วนรูปแบบการหาเสียงที่ผู้ตอบแบบสอบถามรับรู้อาจไม่จ าเป็นต้อง
สอดคล้องกับสัดส่วนของวิธีการต่าง ๆ ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้จริงในการหาเสียงเลือกตั้งก็ได้ ซึ่งในแง่
หนึ่งย่อมสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพในการใช้วิธีการต่าง ๆ ด้วย
ส าหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาการบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ได้ยึดติดกับบรรยากาศการเมือง
ระดับชาติ หรือการแลกผลประโยชน์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับตน แต่ให้น้ าหนักไปกับนโยบายที่
ใช้หาเสียงและตัวบุคคลมากกว่า โดยปัจจัยทั้งสองประการมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55 จากปัจจัย
ทั้งหมดรวมกัน ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าทิศทางการเมืองระดับชาติหรือผลการเลือกตั้งในระดับชาติ
ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นเท่าใดนัก
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 83