Page 115 - kpiebook63032
P. 115

114      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








             ชัดเจนในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นจึงต้องธำารงและรักษาอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่สร้าง
             วัฒนธรรมทางการเมืองที่จะส่งผลเสียต่อประเทศ ยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก สร้างการรับรู้

             ที่ถูกต้องแก่ประชาชนอย่างเหมาะสม


                        ประชาชน โดยทั่วไปนั้นประชาชนเกิดความตื่นตัวทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจ
             ด้วยปัจจัยที่แวดล้อมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อท่าทีและความรู้สึกของประชาชน ดังนั้น

             ประชาชนจึงต้องมีการติดตามข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องจากส่วนราชการ ศึกษาแนวทางนโยบายเพื่อ
             เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของพรรคการเมืองการเมืองที่จะนำามาสู่การตัดสินใจเลือกตั้ง ซึ่งควรที่จะต้อง

             คำานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม เพราะจะส่งผลระยะยาวแก่ตัวประชาชนเอง





                     5.6.2 ข้อเสนอแนะส�ำหรับกำรวิจัยในครั้งต่อไป



                       5.6.2.1 ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า กฎหมายและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ในห้วง
             ระยะเวลาของการเลือกตั้ง เป็นบัญญัติขึ้นเพื่อรองรับการเลือกตั้งในยุคเปลี่ยนผ่านของคณะรัฐประหาร

             โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมในการแสดงความคิดเห็น
             ต่อรายละเอียดดังกล่าว โดยถูกแปรสภาพมาเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและกระบวนการให้ประชาชนเป็นผู้

             ปฏิบัติ ซึ่งทำาให้เกิดอุปสรรคในการนำาไปปฏิบัติเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการปฏิบัติตามที่ถูกต้อง เกิด
             ปัญหาในการรับรู้ ความเข้าใจของประชาชน ทั้งกระบวนการ ดังนั้นจึงควรศึกษาเชิงลึกถึงภาวะการรับรู้

             ความต้องการการรับรู้และความคาดหวังภายใต้เงื่อนไขอำานาจแฝงต่อไป


                       5.6.2.2 ภูมิหลังทางการเมืองของจังหวัดสระแก้วที่ผู้มากบารมีซึ่งมีอิทธิพลทางการเมือง
             มาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยมีความสัมพันธ์กับการเมืองระดับชาติ และการเมืองระดับท้องถิ่น แต่ใน

             การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ เกิดปรากฏการณ์การแยกขั้วอำานาจทางการเมืองที่ส่งผลกระทบ
             ต่อมิติทางการเมืองแบบองค์รวมของจังหวัดสระแก้ว ทั้งในเชิงฐานอำานาจบารมี ตระกูลการเมือง ดังนั้น

             ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาการรักษาฐานอำานาจ และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างสถาบันการเมืองแบบ
             ครอบครัว และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่มีอิทธิพลต่อจังหวัดสระแก้วภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ.2562
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120