Page 185 - kpiebook63031
P. 185
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
184 จังหวัดอุบลราชธานี
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านนั้นมาจากชาวบ้านประชาชนในพื้นที่
ไม่มีอำานาจในการกำาหนดชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง เพราะว่าอำานาจรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางมาตลอด
โครงการพัฒนาของรัฐขาดการมีส่วนร่วมจากชาวบ้าน ทั้งที่ชาวบ้านเป็นผู้จ่ายภาษีให้รัฐ ที่สำาคัญคือ
ระบอบการปกครองที่เป็นเผด็จการทำาให้ชาวบ้านตัดขาดการมีส่วนร่วมในการปกครอง นักการเมืองที่เป็น
ตัวแทนของประชาชนถูกทำาให้น่ารังเกียจ พยายามทำาให้การเมืองเป็นเรื่องสกปรกอย่าเข้าไปข้องเกี่ยว
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธนาธรเสนอว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำานาจ ประชาชนมีอำานาจเพราะจ่ายภาษี
ให้กับรัฐ ก็มีสิทธิเลือกตัวแทนของตนเองเข้าไปบริหารประเทศ ไม่ใช่ให้คนกลุ่มหนึ่งที่ยึดอำานาจมาตัดสิน
แทนประชาชนผู้เสียภาษี
ประเด็นต่อมา นายธนาธรเสนอในเรื่องของการเก็บภาษี จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดต่างๆ
ควรเก็บภาษีได้เอง ไม่ต้องเก็บแล้วนำาไปรวมที่กรุงเทพก่อน ที่จะแบ่งสัดส่วนมาให้แต่ละจังหวัดแต่ละ
ท้องถิ่น ผลที่ตามมาคือ กรุงเทพได้รับเงินส่วนแบ่งจากภาษีจำานวนมากในการพัฒนาประเทศ ส่วนที่เหลือ
จัดแบ่งสรรตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีสัดส่วนลดหลั่นกันไป แต่ที่สำาคัญคือเงินที่รัฐส่วนกลางจัดสรรจากภาษี
ประชาชนมาให้จังหวัดและท้องถิ่นต่างๆ นั้นกลับมีเงื่อนไขกำาหนดมากมายโดยเฉพาะเรื่องโครงการต่างๆ
ที่ไม่จำาเป็นต่อจังหวัดและท้องถิ่น แต่ต้องทำาตาม
นอกจากเรื่องของภาษีแล้ว นายธนาธรเสนอเรื่องของการกระจายอำานาจให้ประชาชนในจังหวัด
ต่างๆ สามารถจินตนาการ กำาหนด พัฒนา จังหวัด เมือง และท้องถิ่น ที่คนในพื้นที่อยากให้เป็นได้ ผ่านการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ไม่ใช่การโครงการพัฒนาที่มาจากรัฐไทยที่ไม่เข้าใจวิถีชีวิตของประชาชน
ในท้องถิ่น และสร้างผลกระทบให้กับคนในท้องถิ่นมากกว่าที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในท้องถิ่น เหมือนดัง
เขื่อนปากมูลและโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ซึ่งเป็นเพียงสองตัวอย่างโครงการพัฒนาจากรัฐที่สร้างผลกระทบ
อย่างมากต่อประชาชนในพื้น และยังมีโครงการต่างๆ อีกมากมายที่ไม่ได้พูดถึงที่สร้างปัญหาให้กับคน
ในพื้นที่
สุดท้ายนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สรุปว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดจากระบอบการปกครองที่ยังไม่เป็น
ประชาธิปไตย ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม ขาดอำานาจในการจัดการทรัพยากร ส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ไม่เท่าเทียมกัน เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างคนรวยและคนจน อีกทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก
การพัฒนาของรัฐ (คนอีสาน) ถูกมองว่า จน และขี้เกียจ อย่างไรก็ตาม นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ มองว่า
ในความเป็นจริงแล้วความจนที่เกิดขึ้นกับคนอีสานไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ แต่เกิดจากโครงสร้างของรัฐ
ที่ไม่เปิดโอกาสให้เขามีอำานาจในการจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ของตนเองมากกว่า
ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของ อาจารย์ปฐวี โชติอนันต์ (สัมภาษณ์, 13 มีนาคม 2562) สาขาวิชาการ
ปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิเคราะห์ว่าถ้าไม่นับทีมงานพรรคอนาคตใหม่ที่มา
ชูป้ายเชียร์ธนาธร คนส่วนใหญ่ที่ฟังเป็นกลุ่มวัยกลางคน คนทำางาน และอีกกลุ่มคือกลุ่มนักศึกษา จำานวน
คนที่ฟังน่าจะถึง 2,000 คน ส่วนผู้สมัครท่านอื่นที่พูดบนเวที ยังนำาเสนอไม่คล่องเหมือนนายธนาธร การพูด
ของนายธนาธรเอาจริงเอาจัง เน้นที่เนื้อหาเป็นหลัก โดยเฉพาะประเด็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจ และ
ชีวิตความเป็นอยู่ การกระจายอำานาจในพื้นที่ ความเหลื่อมลำ้าในการกระจายรายได้ ผลกระทบจาก
การพัฒนาโครงการของรัฐ เป็นต้น